ตลาดหุ้นในวัน 'ล่าแม่มด' 'Tripple Witching' ผลกระทบและสิ่งที่นักลงทุนต้องเตรียมพร้อม

ตลาดหุ้นในวัน 'ล่าแม่มด' 'Tripple Witching' ผลกระทบและสิ่งที่นักลงทุนต้องเตรียมพร้อม
รู้หรือไม่เดือนกันยายน ในตลาดหุ้นจะเป็นช่วงที่มีเทศกาล “ล่าแม่มด” หรือ “Tripple Witching” ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกๆ 3 เดือน

เหตุการณ์ในวันนี้มักจะมีการขายหรือทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสัญญาฟิวเจอร์สและออปชั่นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนของตลาดมากขึ้น บทความนี้ TheBetter จะอธิบายถึงลักษณะของวันล่าแม่มดซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนสามารถวางแผนและจัดการกับความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น

“ล่าแม่มด” หรือ “Tripple Witching” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 3 ของเดือนมีนาคม, มิถุนายน, กันยายน, และธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่สัญญาฟิวเจอร์ส (futures) และออปชั่น (options) ของตลาดหุ้นหมดอายุ (expiration) ในวันเดียวกัน การหมดอายุของสัญญาเหล่านี้จะทำให้เกิดการซื้อขายและการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างมากมาย ซึ่งส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนสูงขึ้น 

สำหรับรอบนี้เหตุการณ์ล่าแม่มดคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนกันยายน โดยเดือนนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการประชุมวันที่ 17-18 กันยายนนี้  ซึ่งคาดว่าเฟดจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากระดับ 2.00-2.25% ไปสู่ระดับ 1.75-2.00% จากเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางชะลอลง นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์การเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปี 2567 นี้ ถือเป็นการเลือกตั้งที่ทั่วโลกต่างจับตามองมากที่สุดอีกครั้งหนึ่งด้วย

หากจะอธิบายเหตุการณ์ในวันล่าแม่มดแบบเข้าใจง่ายจะขออธิบายเป็น 3 ข้อย่อย ดังนี้

1. การขายและการซื้อ : นักลงทุนจะต้องปิดสัญญาฟิวเจอร์สและออปชั่นที่หมดอายุหรือทำการปรับตำแหน่งการลงทุนใหม่

2. ความผันผวน : การดำเนินการเหล่านี้อาจทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอย่างรวดเร็วและไม่คาดคิด

3. ผลกระทบ : นักลงทุนควรติดตามข่าวสารและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

ซึ่งหลังจากวันล่าแม่มด การซื้อขายและการเคลื่อนไหวของตลาดอาจมีการปรับตัวและเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเนื่องจากนักลงทุนได้ทำการปรับพอร์ตการลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว และนี่คือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

1. การปรับพอร์ต : นักลงทุนอาจเริ่มปรับพอร์ตการลงทุนใหม่เพื่อรองรับสัญญาและตำแหน่งใหม่หลังจากที่หมดอายุ

2. ความผันผวนที่ลดลง : หลังจากวันล่าแม่มด ตลาดอาจกลับสู่ระดับความผันผวนที่ปกติ

3. ความสนใจในสินทรัพย์อื่น : นักลงทุนอาจเริ่มสนใจสินทรัพย์หรือกลยุทธ์การลงทุนใหม่ๆ ตามสภาพแวดล้อมตลาดที่เปลี่ยนแปลง 

สำหรับความเสียหายที่เกิดจากความผันผวนในวันล่าแม่มดมักจะไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าและมักจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวม, การดำเนินการของนักลงทุน, และความเครียดของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ ตัวอย่างการทำความเสียหายในอดีต เช่น

เมื่อเดือนตุลาคม 1987 (Black Monday) ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ Black Monday ไม่ได้เกิดขึ้นในวันล่าแม่มด แต่ในวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 1987 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่างดัชนี Dow Jones ได้ลดลงอย่างรวดเร็วกว่า 22% ในวันเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความผันผวนอย่างรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คล้ายคลึงกัน

หรือจะเป็นเหตุการณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2020 ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญกับความผันผวนสูงจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรวมถึงวันล่าแม่มดในเดือนมีนาคม 2020 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง โดยดัชนี S&P 500 ลดลงประมาณ 34% จากระดับสูงสุดในช่วงต้นปี

ในกรณีเหล่านี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากและกระทบต่อนักลงทุนและตลาดการเงินโดยรวม แม้ว่าเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจงอาจไม่สามารถเชื่อมโยงกับวันล่าแม่มดโดยตรง แต่การเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงที่มีความผันผวนสูงเช่นนี้เป็นตัวอย่างของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้

และถึงแม้เหตุการณ์ล่าแม่มดจะไม่ได้กระทบกับตลาดหุ้นไทยโดยตรง แต่ต้องยอมรับว่าตลาดหุ้นอเมริกาเปรียบเสมือนตลาดแม่ของตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งหากมีปัจจัยลบเกิดขึ้นก็จะกระทบตลาดหุ้นอื่นๆ แบบโดมิโน่ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นนักลงทุนควรติดตามข่าวสารและข้อมูลทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดอย่างใกล้ชิด

TAGS: #ล่าแม่มด #Tripple #Witching