ตลาดธุรกิจจัดงานวิ่งในไทย ก่อนโควิดระบาดเคยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000ล้านบาท ตอนนี้อยู่ในช่วงทยอยฟื้นตัวกลับมา ‘ดีด’ อีกครั้ง พร้อมสร้างเศรษฐกิจสะพัดทั้งทางตรงและทางอ้อม
รัฐ จิโรจน์วณิชชากร นายกสมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย กล่าวในฐานะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมซ์ แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด ธุรกิจด้าน Sport Event Management เล่าย้อนที่มาการจัดงานวิ่งมาราธอน ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในไทย คือ " วิ่งลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ" 5 รอบ (ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2530
ภาพ http://www.thairunning.com/
เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดสะพานพระราม 9 หรือที่เรียกกันว่า สะพานแขวนritราม9 และยังเป็นสเกลการจัดงานฯใหญ่ที่สุดด้วยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ มากกว่า 80,000 คน
จากนั้นความนิยมการจัดงานแข่งขัน วิ่งมาราธอนนานาชาติในไทย เริ่มเป็นที่นิมมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาร่วม 36 ปีที่ผ่านมา
ขณะที่ ปัจจัยการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ใช้ทุนประเดิมลงทุนเพื่อสร้างสุขภาพในจำนวนไม่มากนัก ‘แค่มีรอองเท้าวิ่งหนึ่งคู่กับใจฟิตๆ’ ก็lสามารถพิชิตหลักกิโลเมตร ที่ต้องไปให้ถึงได้แล้ว
จนถึงปัจจุบัน คาดการณ์มีจำนวนนักออกกำลังกายประเภทวิ่งในไทย ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน กระจายตัวอยู่ในสวนสาธารณะ หรือ สายพานลู่วิ่งในที่พักอาศัย ฯลฯ
และในจำนวนนี้ แบ่งเป็น 10% หรือ ราว 2 ล้านคน คือ นักวิ่งที่มีแนวโน้มสนใจเข้าร่วมในการจัดอีเวนต์วิ่ง ประเภทต่างๆ
วิ่งแก้อกหัก ลดซึมเศร้า
รัฐ กล่าวต่อว่า เทรนด์เข้าร่วมอีเวนต์แข่งขันวิ่งมาราธอนในไทยตลอดช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมา เติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยมีตัวเลขก่อนช่วงโควิดระบาด หรือ ราวปี 2562 พบว่ามีการจัดงานแข่งขันวิ่งมาราธอนประเภทต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 2,400-2,500 รายการ คำนวณออกมาเป็นมูลค่าตลาดอีเวนต์วิ่งฯ ไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท
ก่อนจะซบเซา เงียบเหงาไปเมื่อโควิดเข้ามาจู่โจม ชะงักบรรยากาศการออกกำลังกาย สวนสาธารณะถูกปิด อีเวนต์ต่างๆ หายไปเป็นศูนย์ในช่วงเกือบ2 ปีก่อน และทยอยฟื้นคืนกลับมาในปี 2565 ด้วย มีการจัดงานแข่งขันวิ่งมาราธอน ทั่วปะเทศไทยราวๆ 1,200 รายการ เรียกได้ว่าหายไปร่วม 50%คิดเป็นมูลค่าราวๆ 5,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงพีกก่อนหน้านี้
รัฐ กล่าวว่า “ความนิยมกิจกรรมวิ่ง เป็นเทรนด์ที่มาแรงก่อนช่วงโควิด ทั้งจากปัจจัยเหล่าคนมีชื่อเสียง ออกมาจัดอีเวนต์วิ่งระดมทุนสร้างโรงพยาบาล ฯลฯ ไปจนถึง ด้านสุขภาพด้วยมีผลวิจัยออกมาว่า หลายคนที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือ หดหู่ อาการอกหัก เมื่อมาวิ่งสภาพจิตใจจะค่อยๆดีขึ้น ด้วยร่างกายจะผลิตฮอร์โมนสร้างความสุขออกมา เมื่อวิ่งต่อเนื่องเป็นเวลา4 เดือนขึ้น”
ซอต์เพาเวอร์ กระตุ้นเศรษฐกิจ
รัฐ กล่าวว่า กิจกรรมการออกกำลังกายด้วยการวิ่งของคนหนึ่งคน ยังเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งทางตรง และทางอ้อม
โดยนักออกกำลังกายประเภทวิ่ง 1 คน จะมี่ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการทำกิจกรรมแบ่งออกเป็น รองเท้าวิ่ง 1 คู่ ราคาเฉลี่ยเริ่มต้น 1,000-1,500 บาท และหากสมัครเข้าร่วมอีเวนต์แข่งขันวิ่งมาราธอน หรือเข้าสู่วงการระดับมืออาชีพ อาจต้องลงทุนรองเท้าวิ่ง ที่มีราคาสูงมากขึ้นเฉลี่ย 4,000-10,000 บาทขึ้นไป
นอกจากนี้ยังไม่รวมถึง ชุดออกกำลังกายสำหรับกีฬาประเภทวิ่งโดยเฉพาะ มีราคาเฉลี่ยหลักร้อยบาทไปจนถึงหลักหลายพันบาทต่อชุด ก็มี
และเมื่อนักวิ่งกลุ่มนี้ ตัดสินใจเข้าร่วมการจัดงานแข่งขันวิ่งมาราธอน ประเภทต่างๆ ก็ยังจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งแบบทางตรงและทางอ้อม แบ่งเป็น
ค่าสมัครต่องานฯ(ในประเทศ) เฉลี่ย 1,000-1500 บาท/คน
ค่าภาพถ่ายที่ระลึกในกิจกรรมวิ่ง เฉลี่ย 200 บาท/คน
(กรณีนักวิ่งต่างถิ่น ร่วมงานวิ่งฯข้ามจังหวัด)
ค่าเดินทางที่พัก เฉลี่ย 5,00-1,000 บาท/คน
เมื่อนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายคร่าวๆ จะเห็นได้ว่า นักวิ่งหนึ่งคนมีค่าใช้จ่ายร่วมอีเวนต์วิ่ง 1 ครั้งเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1,200-2,000 บาท และหากรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆในกรณีเดินทางไปในจังหวัดที่จัดงานวิ่งฯ ด้วยแล้ว
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็อาจจะเพิ่มสูงขึ้น จากการจับจ่ายซื้อสินค้าบริการในท้องถิ่น เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร บริเวณใกล้เคียงที่พักของนักวิ่ง หรือ ที่จัดงาน เป็นต้น เรียกว่างานวิ่ง เป็นอีกหนึ่งอีเวนต์กระตุ้นเศรษฐกิจระดับย่อมๆ
เศรษฐกิจดีดูที่การออกกำลังกาย
รัฐ กล่าวว่า จากตัวเลขการจับจ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงทางอ้อมในอีเวนต์วิ่งดังกล่าว สะท้อนถึงการเติบโตของกิจกรรมประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนักวิ่งทุกระดับตั้งแต่มวลชน (Mass) ไปจนถึงระดับบน (Hi-end) ในเวลานี้
ด้วยกีฬาประเภทนี้ เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นในกลุ่มคนที่มืชื่อเสียงและมีผู้มีฐานะ ที่หันมาร่วมแข่งขันวิ่งมาราธอนในรายการต่างๆทั้งที่จัดในประเทศ และ ในต่างประเทศ ที่อย่างหลังจะต้องใช้ทุน หรือ ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเพื่อร่วมอีเวนต์ แต่แลกมาด้วยรางวัลแห่งความภาคภูมิใจจากการพิชิตเส้นชัยตามระยะทางที่กำหนดไว้ (อันนี้ไม่นับรวมฃ ‘นักวิ่งมืออาชีพ’ ที่ต้องการเงินรางวัลจากdkiจัดงานวิ่ง แต่ละรายการ)
สอดคล้องกับเทรนด์การจัดงานวิ่งทั่วโลกที่กำลังไปข้างหน้าเรื่อยๆ หลังจากโควิด ได้กลายมาเป็น ‘นิว นอร์ม’ อย่างสมบูรณ์ โดยผู้คนจะโฟกัสสุขภาพกันมากขึ้นให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ ด้วยมีคำกล่าวที่ว่า หากอย่ากรู้ว่าประเทศไหนเศรษฐกิจดี การออกกำลังกายจะเติบโตตามไปด้วย สะท้อนความเป็นอยู่ของประชากรมีอายุยืนขึ้น มีเวลาว่างและหางานอดิเรกทำมากขึ้น
ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า แนวโน้มในต่างประเทศจะทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์จากการเข้ามาของเอไอ มาเป็นตัวช่วย ทำให้ผู้คนในประเทศที่เศรษฐกิจดีมีเวลาหันมาทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพมากขึ้น มีการเดินทางมากขึ้น สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงกีฬา หรือ Sport Tourism ประภทต่างๆ และเป็น Mega Trend ที่กำลังจะเกิดขึ้น” รัฐ เสริม
ธุรกิจจัดงานวิ่งโตต่อเนื่อง 20%
ต่อเรื่องนี้ รัฐ กล่าวอีกว่า จากเทรนด์ดังกล่าว ยังเป็นปัจจัยบวกต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในไทย ที่จะดึงดูดกำลังซื้อกลุ่มนักวิ่ง ทั้งในและต่างประเทศ ให้เดินทางมาร่วมอีเวนต์การแข่งขันวิ่งมาราธอนในไทย ได้อีกมากในอนาคต
โดยคาดว่าในปี 2566 ธุรกิจการจัดงานแข่งขันวิ่งมาราธอนในไทยจะอยู่ราวๆ 1,400-1,600 อีเวนต์ เติบโตขึ้นมา 20% จากปีก่อน หรือ คิดเป็นมูลค่าตลาดอีเวนต์การจีดงานวิ่งฯ อยู่ประมาณกว่า 6,000 ล้านบาท
“อีเวนต์วิ่ง จะเป็นอีกหนึ่ง Quick Win ในการผลักดันให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตได้ดี ที่ต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนผู้จัดงาน โดยเฉพาะการที่งานได้รับรางวัลด้านมาตรฐานการจัดงานแข่งขันวิ่งมาราธอนระดับนานาชาติ ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดูดจากเหล่านักวิ่งมืออาชีพได้เป็นอย่างมาก ซึ่งในแต่ละปีนักวิ่ง จะร่วมแข่งอีเวนต์วิ่งเฉลี่ย 4 ทริปต่อปี ” รัฐ อธิบายเพิ่ม
วิ่งแบบไหนให้ได้ระดับโลก
รัฐ กล่าวว่า ธุรกิจการจัดงานวิ่งฯ ยังเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจการจัดงานไมซ์ (Mice) ในภาคการท่องเที่ยวด้วยเช้นกัน ซึ่งไทยยังมีโอกาสอีกมากในการขยายตลาดที่เคยมีมูลค่ากว่า หมื่นล้านบาทมาแล้ว ด้วยในประเทศที่พัฒนาแล้วการจัดงานในเมืองใหญ่ระดับโลก (Mega Marathon Big City) อย่างใน ปารีส นิวยอร์ค โตเกียว แต่ละปีมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 ล้านบาท
ด้วยปัจจุบัน กลุ่มนักวิ่งหน้าใหม่ เริ่มขยายตัวมากขึ้นในกลุ่มชนชั้นกลาง และยังชิงฐานนักกออกกำลังกายกีฬากอล์ฟ ที่หันมามีส่วนร่วมในกิจกรรมวิ่งมากขึ้น
ขณะที่มาตรฐานการจัดงานการแข่งขันวิ่งมาราธอนระดับนานาชาติ ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการรันตีด้านความปลอดภัยให้กับนักวิ่งที่ตัดสินใจ มาเข้าร่วมกิจกรรมเช่นกัน
โดยเฉพาะทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่บริการดูแลด้านสุขภาพ ที่จะต้องชาร์จถึงตัวนักวิ่งและให้การปฐมพยาบาลได้อย่างทันท่วงที หากเกิดอุบัติเหตุไม่ว่ากรณีใดๆกับนักวิ่ง ไปจนถึงมาตรฐานความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมอื่นๆ ตลอดเส้นทางการวิ่ง เป็นต้น
ขณะที่ปัจจุบัน มาตรฐานการจัดงานวิ่งระดับโลกบนถนน โดยสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (World Athletics) ได้กำหนดไว้ 3 ระดับใหม่ในปี 2021 คือ
- World Athletics Royal Race Label (สีเขียว)
- World Athletics Elite Label Road Race (สีม่วง)
- World Athletics Elite Platinum Label Road Race (สีเทาดำ
‘บางแสนซีรีย์’จากธุรกิจทำเล่นๆสู่ธุรกิจหลัก
รัฐ กล่าวต่อในฐานะผู้จัดงานการแข่งขันวิ่งมาราธอนบนถนน “บางแสน ซีรีย์” ที่ได้จัดมาตลอดระยะเวลาเกือบ10 ปี มีจุดเริ่มจากการต่อยอดธุรกิจหลักของบริษัท ออร์กาไนซ์การจัดงานประชุม/สัมมนาให้กับองค์กรธุรกิจไอทีแบรนด์ระดับโลก และต้องการสร้างกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดให้กับตัวเองและทีมงาน ด้วยการหาทางออกด้วยการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง จนทำได้ดี ด้วยจุดแข็งการใส่ใจในรายละเอียดที่ต่อยอดมาเป็นธุรกิจหลักในปัจจุบัน
และจาก ‘ความเก่ง’ ด้านการเก็บรายละเอียดของก่ารจัดอีเวนต์บางแสนซีรีย์ โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา World Athletics ได้รับรองมาตรฐานงานวิ่งถนน ทั้งหมด 256 งาน
แบ่งเป็น
Platinum 15งาน
Gold 39 งาน
Elite 72งาน
Gren 130งาน
โดยระดับเลเวล ของบางแสน ซีรีย์ ที่ได้รับรองมาตรฐาน มีดังนี้
บางแสน10 (ระยะทาง 10 กม.) World Athletics Elite Label
บางแสน21 (ระยะทาง 21 กม.) World Athletics Platinum Label
บางแสน42 ชลบุรีมาราธอน World Athletics Elite Labels
(ระยะทาง 42 กม.)
สำหรับงานวิ่งฯ บางแสน ซีรีย์ จะจัดขึ้นในช่วงเดือนก.ย.พ.ย.ในแต่ละปี มีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่าหมื่นคน สร้างเม็ดเงินพัดราวๆ 500 ล้านบาทต่อครั้ง ซึ่งยังไม่นับรวมการกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อมที่เกิดขึ้น จากการจองที่พักโรงแรม การรับประทานอาหารในร้านค้าท้องถิ่น การแวะซื้อของฝาก ในช่วงรอบต่อของวันศุกร์ เสาร อาทิตย์ อีกด้วย
โดยแผนการจัดงานฯของบริษัท ในอนาคต คือ การขยายแนวทางการจัดงานวิ่งระดับมาตรฐานไปยังหัวเมืองใหญ่ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้าวงพื้นฐาน และชุมชนเมืองมให้การตอบรับภายใต้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism Model) จากปัจจุบัน บรืษัทจัดงานวิ่งฯ ในจังหวัดชลบุรี ลั ประจวบคีรีขันธ์
“งานบางแสนซีย์ ยังเป็นงานเดียวในประเทศไทย ที่ใช้วิธีสุ่มจับฉลากเพื่อร่วมงาน ซึ่งมีกิมมิคแบบเดียวกับการจัดงานบอสตัน มาราธอน เพื่อสร้างสีสันและความภาคภูมิใจให้กับผู้ลงแข่งขัน และมองว่าในอีก 5 ปีนับจากนี้อีเวนต์งานวิ่งในไทยจะฟื้นตัวกลับมาได้ 100% เทียบเท่ากับช่วงก่อนโควิด” รัฐ ทิ้งท้าย
ขณะที่ปัจจุบัน บริษัทมีรายได้หลักมาจากธุรกิจการจัดอีเวนต์การแข่งขันวิ่งมาราธอน สัดส่วน 90% และอีก 10% เป็นธุรกิจไมซ์