โรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดตัว “9Care Application” รองรับ Decentralized Healthcare Services ยกระดับการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เหมือนยกโรงพยาบาลมาไว้ที่บ้าน
รศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน และที่ปรึกษาศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ โรงพยาบาลพระรามเก้า (Praram9V) กล่าวว่า โรงพยาบาลฯ ขยายรูปแบบการให้บริการแพทย์ทางไกล หรือ Decentralized Healthcare Services เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการติดตามการรักษาที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มโรคยากซับซ้อน ที่จะต้องมีการการดูแลเป็นพิเศษจากทีมแพทย์เฉพาะทาง
โดยร่วมกับ บริษัท เซนโกรท จำกัด (Zanegrowth) พันธมิตรด้านเทคโนโลยี ร่วมพัฒนา solution สร้างบริการทางการแพทย์ โดยความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลพระรามเก้า ผ่านแอปพลิเคชัน 9CARE ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดค่าสุขภาพต่างๆ เพื่อให้บริการระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
สำหรับแอปฯ 9CARE นี้ จะมีแผนการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล (Personal care plan) เหมาะสมสำหรับผู้ใช้บริการรายบุคคล โดยมีแพทย์เป็นผู้สร้างแผนการดูแลร่วมกับผู้ใช้บริการ และมีทีมพยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญประสานงานกับทีมแพทย์ คอยให้การดูแลตลอดแผนอย่างใกล้ชิด ซึ่งแอปพลิเคชันนี้จะทำการเชื่อมโยงกับบริการทางการแพทย์ต่างๆ ภายในโรงพยาบาล อาทิ ค่าสุขภาพต่างๆ ที่แพทย์ต้องการมอนิเตอร์
นอกจากนี้ โรงพยาบาลพระรามเก้า ยังได้สร้าง ‘9CARE Shop’ เพื่อให้เป็นศูนย์รวม Gadget ด้านสุขภาพที่ครบวงจรที่สุด โดยภายใน 9CARE Shop จะให้บริการ ติดตามภาวะสุขภาพด้วย Medical IOT จากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาผ่าน Telemedicine เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการรอบด้าน
“ปัจจุบันแอปพลิเคชัน 9CARE รองรับทั้งระบบ iOS และ Android และสามารถดาวน์โหลดได้จาก App store และ Play Store สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ หรือ gadget ที่เชื่อมกับ application ดังนี้ เครื่องวัดความดันโลหิต - OMRON, Beurer , เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด - TAIDOC, Beurer, Bluedot , เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด - ACCU-CHEK , เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย - TAIDOC, Beurer, Bluedot , เครื่องชั่งน้ำหนัก - Mi, Beurer, Bluedot , และ Smart watch - Apple Watch, Garmin, Fitbit เป็นต้น” รศ.พญ.รวีรัตน์ กล่าว
นอกจากนี้ โรงพยาบาลมีแผนที่จะขยายแอปพลิเคชัน ให้เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ในระบบออนไลน์ ร่วมกับ partnership ในธุรกิจต่างๆ เช่น คอนโดและหมู่บ้าน เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานในวงกว้าง รวมถึงนำแพลตฟอร์มไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับองค์กรต่าง ๆ ในการดูแลบุคลากร เช่น ห้องพยาบาลของสำนักงานต่าง ๆ โรงเรียน หรือ nursing home เป็นต้น รวมถึงขยายการใช้งานไปยังกลุ่มคนไข้ของโรงพยาบาลในกลุ่มโรคซับซ้อนต่าง ๆ ให้มากขึ้นต่อไปในอนาคต
ขณะเดียวกัน ยังมีแผนนำเทคโนโลยี เช่น chat GPT เข้ามาเป็นตัวเสริมในด้านการบริการให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การช่วยให้ข้อมูล ถาม- ตอบด้านสุขภาพเบื้องต้น, การพัฒนา Avatar (พยาบาลเสมือน) บนTablet เพื่อให้คนไข้สามารถพูดคุยและโต้ตอบกับ Avatar Caregiver ได้เสมือนมีพยาบาลอยู่เคียงข้าง, อีกทั้งตัว Tablet จะใช้ imaging AI ในการดูแลว่าคนไข้หกล้มหรือต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ โดยที่คนไข้ไม่ต้องกดหรือใช้อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือในบ้าน
“บริการเหล่านี้ จะเปรียบเสมือน การที่เรายกโรงพยาบาลมาไว้ที่บ้าน และเป็นการขยายรูปแบบการให้บริการแพทย์ทางไกล หรือ Decentralized Healthcare Services ตามแนวทางที่ทางโรงพยาบาลตั้งเป้าไว้ได้อีกด้วย” รศ.พญ.รวีรัตน์ ทิ้งท้าย