เอสเอฟ เกาะเทรนด์โลกดึงอัลเทอร์เนทีฟคอนเทนต์ ไลฟ์คอนเสิร์ตศิลปินใน/ต่างประเทศผ่านจอยักษ์ 4 เค เสริมรายได้หนังใหญ่ว่า10 เรื่องฉายยาวถึงปีหน้ารับมู้ดโรงหนังฟื้น ดันเป้ารายได้ปีหน้า 5 พันล.
สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการตลาด บริษัทเอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจโรงภาพยนตร์แบรนด์เอสเอฟ (SF) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์กลับมาคึกคัก เห็นได้จากความสำเร็จของภาพยนตร์หลายเรื่องที่เข้ามาเปิดฉายในไทยนับแต่ปีที่ผ่านมา สะท้อนพฤติกรรมผู้ชมยังต้องการประสบการณ์รับชมความบันเทิงผ่านจอภาพขนาดใหญ่ในโรงภาพยนตร์
โดยนับจากไตรมาส2 ปี2566 ธุรกิจโรงหนังจะทยอยฟื้นตัวอย่างชัดเจน และยังเป็นปีทองของธุรกิจโรงภาพยนต์ทั้งในประเทศไทยและในฮอลลีวู้ด จากโปรแกรมภาพยนต์ทุนสร้างใหญ่ ที่ตรียมเข้าฉายในโรงหนังเอสเอฟต่อเนื่องทุกเดือนไปจนถึงต้นปี 2567 อาทิ
Fast & Furious X (เร็ว...แรงทะลุนรก 10)
The Little Mermaid (เงือกน้อยผจญภัย)
Spider-Man: Across the Spider-Verse (สไปเดอร์-แมน: ผงาดข้ามจักรวาลแมงมุม)
Transformers: Rise of the Beasts (ทรานส์ฟอร์เมอร์ส: กำเนิดจักรกลอสูร)
The Flash (เดอะ แฟลช)
Elemental (เมืองอลวนธาตุอลเวง)
Mission: Impossible – Dead Reckoning Part One (มิชชั่น:อิมพอสซิเบิ้ล ล่าพิกัดมรณะ ตอนที่หนึ่ง)
The Meg 2: The Trench เม็ก 2: อภิมหาโคตรหลาม ร่องนรก
Blue Beetle (บลู บีเทิล)
The Marvels (เดอะ มาร์เวลส์)
Aquaman and the Lost Kingdom
ขณะเดียวกัน บริษัทยังเพิ่มความสำคัญในธุรกิจอัลเทอร์เนทีฟ คอนเทนต์ บริการเนื้อหาให้ลูกค้ารับชมใหม่นอกเหนือจากคอนเทนต์ภาพยนต์ อาทิ กิจกรรมไลฟ์คอนเสริ์ตศิลปิน ทั้งในประเทศและระดับโลก มากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามกระแส (เทรนด์) เดียวกับธุรกิจโรงภาพยนต์ในต่างประเทศ อาทิ การแสดงคอนเสิร์ตศิลปินเกาหลี BTS, คอนเสิร์ต ‘แจ็คสันหวัง GOT7’ เปิดการแข่งขันเกมแดงเดือด แนเชสเตอร์ยูไนเต็ด VS ลิเวอร์พูล เป็นต้น เพื่อเข้ามาเสริมรายได้ให้กับธุรกิจโรงภาพยนตร์
“ช่วงโควิดสองปีที่ผ่านมา ธุรกิจโรงภาพยนต์ซบเซาตามแนวโน้มเดียวทั้งอุตสาหกรรม แต่หลังจากนำไลฟ์คอนเสิร์ต อัลเทอร์เนทีฟ คอนเทนต์มาให้บริการซึ่งได้การตอบรับดี โดยราคาบัตรเข้าชมจะมีอัตราแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอีเวนต์ หรือ ศิลปินที่มาไลฟ์คอนเสิร์ต สร้างประสบการณ์ใหม่ในการชมคอนเสิร์ตผ่านความชมชัดระดับ4K และเตรียมนำ World Film Festival of Bangkok ที่เตรียมจัดขึ้นอีกครั้ง” สุวิทย์ กล่าว
พร้อมเสริมต่อ แนวทางขยายสาขาโรงภาพยนตร์ในปี2566 จะเน้นการปรับปรุงสาขาเป็นหลักจำนวน 150 สาขา อาทิ SF ศูนย์การค้าเซ็นทรัลสาขาลาดพร้าว, รามอินทรา และเดอะมอลล์ บางแค คาดเปิดตัวปลายปีนี้ พร้อมวางแผนขยายโรงภาพยนต์เพิ่ม 5-7 สาขาใหม่ในปี 2567 จำนวนทั้งสิ้น 40 โรงฯ คาดใช้งบลงทุนเฉลี่ย 15-18 ล้านบาทต่อสาขา
โดยทำเลสาขาที่จะไปเปิดให้บริการจะไปพร้อมกับศูนย์การค้าต่างๆที่ทยอยเปิดใหม่ในปีหน้า ทั้งในกรุงเทพฯ และ หัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการฟื้นตัวธุรกิจโรงภาพยนต์ที่กลับมาเช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา ที่ครอบคลุมแล้วกว่า 80% เทียบกับช่วงปี 2562 ก่อนสถานการณ์โควิด จากปัจจุบันมี 66 สาขา 400 โรงภาพยนตร์ ใน 36 จังหวัดทั่วประเทศ และ
จากแผนการตลาดที่วางไว้ และหนังฟอร์มยักษ์ที่เตรียมาฉาย คาดสร้างยอดจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟราว 13 ล้านใบ
สุวิทย์ กล่าวว่าจากแผนดังกล่าวคาดยังจะผลักดันให้ เอสเอฟ มีรายได้ในปี2566 อยู่ที่ราว 4,000 ล้านบาท และในปี 2567 คาดฟื้นตัว 100 % วางเป้าหมายอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนรายได้จากธุรกิจโรงภาพยนต์และจำหน่ายเครื่องดื่มชนมขบเคี้ยว 75-80% ธุรกิจโฆษณาในสื่อโรงพาพยนตร์ 15-20% และธุรกิจอีเวนต์ อัลเทอร์เนทีฟ คอนเทนต์ สัดส่วนที่เหลือ 5-10% จากในปีเมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีรายได้ 4,670 ล้านบาท และกำไรสุทธิ364 ล้านบาท จากการขายตั๋วเข้าชมภาพยนตร์ได้ 18 ล้านใบ
พร้อมเตรียมแผนยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ในปีหน้า