โรงเรียนสามภาษาจื้อ-เล่อฯ ย้ำหลักสูตรคุณภาพการเรียนการสอน เปิดราคาเริ่มต้นแสนบาทต่อปี มุ่งขยายแคมปัส 5–7 แห่งใน 10 ปีข้างหน้า
วอลเตอร์ ลี ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มบริษัทจื้อ-เล่อ กล่าวว่า จากประสบการณ์ในธุรกิจและการศึกษานานาชาติ ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของการเรียนรู้หลายภาษา โดยเฉพาะภาษาจีน ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงานโลก
ทั้งนี้ จากการเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนดังกล่าวได้พัฒนาก่อตั้งโรงเรียนสามภาษา จื้อ-เล่อ พัฒนา โดยมีเป้าหมายช่วยให้เด็กไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยโอกาสและศักยภาพสูง
พร้อมตอบสนองความต้องการของสังคมไทยในการพัฒนาทักษะภาษาจีนควบคู่ไปกับภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยโรงเรียนจื้อ-เล่อ เปิดตัวแคมปัสแห่งใหม่บนถนนรามคำแหง โดยมุ่งเป้าหมายในการปรับปรุงการศึกษาของไทยด้วยหลักสูตรการเรียนสามภาษา (ไทย, อังกฤษ, จีน) ที่มีคุณภาพสูงในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ กำหนดค่าเล่าเรียนเริ่มต้นที่ 100,000 บาทต่อปี หรือประมาณ 50,000 บาทต่อภาคการศึกษา โดยไม่เก็บค่าแรกเข้า ค่าลงทะเบียน หรือค่าธรรมเนียมพิเศษใด ๆ
นอกจากนี้ ยังวางเป้าหมายดำเนินการสอนหลักสูตร เน้นภาษาจีนและภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น (ICEP) สำหรับเด็กอายุ 2–11 ปี โดยมีการพัฒนาให้การศึกษาของไทยมีความเข้มข้นและมีมาตรฐานสูงขึ้น พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะขยายแคมปัส 5–7 แห่ง ภายใน 10 ปีข้างหน้า
"เราเชื่อว่าการศึกษาที่มีคุณภาพในราคาที่เข้าถึงได้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายขอบเขตความรู้และเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับนักเรียนในประเทศไทย" พร้อมเสริมว่า "ในปีการศึกษา 2568 โรงเรียนจะเปิดหลักสูตรสามภาษาที่เน้นภาษาไทย 40%, ภาษาอังกฤษ 30%, และภาษาจีน 30%" วอลเตอร์ กล่าว
นอกจากนี้ ยังได้มุ่งมั่นพัฒนาโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียน โดยการนำเสนอหลักสูตรที่เน้นภาษาจีนและภาษาอังกฤษในรูปแบบเข้มข้น รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมการเรียนที่เน้นศิลปะ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการคิดเชิงวิพากษ์ โดยใช้หลักการเรียนการสอนที่ครอบคลุมและปรับตามความต้องการของแต่ละบุคคล
วอลเตอร์ กล่าวว่า การศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตที่ดีสำหรับประเทศ และต้องการให้เด็กในประเทศไทยมีโอกาสในการเรียนรู้สิ่งที่ดีที่สุดในราคาที่ไม่เป็นภาระ โดยยังมอบ 2ทุนการศึกษา ให้กับมูลนิธิซาย มูฟเม้นท์ (Zy Movement Foundation) เพื่อนำไปมอบให้กับนักเรียนที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการศึกษาอย่างเท่าเทียมและครอบคลุมทุกกลุ่มในสังคม