MI Group มองเศรษฐกิจกำลังซื้อไทยไตรมาส4 ปี67 เข้าสู่สถานะจำศีลยาว 2-3 เดือนหลังคำสั่งศาลฯตัดสินคณะรัฐบาลชุด‘เศรษฐา’ พ้นบริหารประเทศทำนโยบาย-คำสั่งจ่ายงบประมาณเลื่อน ฉุดอุตฯโฆษณาปีนี้ติดลบ
ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไม่เป็นคุณต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล จะส่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง โค้งสุดท้ายของปี2567 นี้อย่างแน่นอน จาก ‘สูญญากาศ’ ของตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะใช้ระยะเวลากว่า 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย ส่งผลต่อการขับเคลื่อนโยบายและการใช้จ่ายงบประมาณต่างๆ
“จากสถานการณ์ดังกล่าว MI GROUP คาดว่าอาจทำให้เม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณาและสื่อสารการตลาดปิดปี2567 นี้ไม่เติบโตหรืออาจติด ลบเมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ผ่านมา” ภวัต กล่าว
อย่างไรก็ตาม กรณีไม่มีเหตุการณ์ดัวกล่าวเกิดขึ้น MI ได้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยช่วง 4 เดือนสุดท้าย ของปี 2567 ผ่านเม็ดเงินโฆษณาและกิจกรรมการตลาด แม้ว่ากิจกรรมระดับโลกทั้ง EUFA Euro และ Paris Olympic 2024 ที่เพิ่งจบไปจะกระตุ้นความคึกคักของตลาด และเม็ดเงินโฆษณาได้บ้าง แต่การจับจ่ายของผู้บริโภคยังซึมยาว จากปัจจัยค่าครองชพีพุ่งสูง รายได้หดตัว ซ้ำเติมผู้ประกอบการจากการแข่งขันและปัจจัยลบรอบด้าน
โอลิมปิกฯ กระตุ้นอุตฯโฆษณาไทย 500 ล้าน
ขณะที่อีเวนต์มหกรรมกีฬา โอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024 ที่เพิ่งจบไปนั้น พบว่าได้รับความสนใจจากผู้ติดตามชมการถ่ายทอดสด โดยเฉพาะกีฬาสำคะญๆที่นักกีฬาของไทยได้มีโอกาสเข้าชิงเหรียญในรอบลึก ๆ เช่น แบดมินตัน เทควันโด ยกน้ำหนัก และมวย เป็นต้น ที่สร้างความคึกคักจากเงินสนับสนุนถ่ายทอดโดยสปอนเซอร์ได้เกินคาด
“MI GROUP ประเมินเม็ดเงินโฆษณาและสื่อสารการตลาดในไทยของParis Olympic 2024 ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท โดยรวมทั้งสปอนเซอร์หลักและสปอนเซอร์รายย่อย รวมถึงแบรนด์ที่เกาะกระแส Paris Olympic 2024” ภวัต กล่าว
ครึ่งแรกอุตฯโฆษณาบวก 4.9%
ภวัต กล่าวว่าสำหรับเม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณาล่าสุดของปี 2567 ถึงเดือนกรกฏาคม มีมูลค่ากว่า 49,433 ล้านบาท หรือ +4.9% จากปี 2566 ซึ่งหากคำนึงถึงปัจจัยบวกและลบต่างๆตลอดทั้งปีแล้ว รวมถึงโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่รัฐบาลระบุว่าจะแจกให้กับประชาชนไดใช้จ่ายในช่วงเดือนธันวาคมปีนี้นั้น คาดจะมีส่วนผลักดันเม็ดเงินโฆษณาทั้งปีจะปิดที่ 8,7617 ล้านบาท หรือ +3.3% จากปี 2023 โดยเติบโตจาก สื่อดิจิทัล และสื่อนอกบ้าน (Out of Home Media)
ทั้งนี้ จากสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นในช่วงปีนี้ ส่งผลให้การจับจ่ายของผู้บริโภคยังซึม จากค่าครองชีพที่ยังคงพุ่งสูง รายได้หดตัว ปัจจัยหลักส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างที่ผู้ประกอบการในไทย (ทั้งผู้ประกอบการไทย และผู้ประกอบการต่างชาติในไทย) ได้รับผลกระทบและการแข่งขันจากผู้ประกอบการจีน ทุนจีน ที่เข้ามาในหลากหลายอุตสาหกรรม จากนโยบายการให้สิทธิพิเศษทางการค้าและการลงทุนของภาครัฐในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลดีและผลเสีย ต่อเศรษฐกิจไทยในหลายเรื่อง
ขณะที่ ปัจจุบันเริ่มมีสัญญาณและหลักฐานชัดในด้านผลเสีย เนื่องจากผู้ประกอบการจีน ทุนจีน ที่เข้ามาในประเทศไทยมีลักษณะพิเศษ แตกต่างจากผู้ประกอบการและทุนจากชาติอื่นๆที่ผ่านมา ความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต การใช้นิเวศน์การผลิต และการดำเนินธุรกิจในสไตล์จีน ไม่ค่อยส่งผลดีในภาคการจ้างงาน การใช้วัตถุดิบ การผลิตภายในประเทศ
“ซ้ำร้าย ยังส่งผลต่อผู้ประกอบอื่นๆในไทยที่เสียเปรียบอยู่หลายช่วงตัว ผู้ประกอบการหลายรายลดกำลังการผลิตเหลือไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิต บางรายปิดตัวลง ลดการจ้างงาน ยกเลิกการจ้างงาน ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นทอดๆมายังแรงงานเกือบทุกประเภททั้งแรงงานทักษะสูงและต่ำ” ภวัต กล่าว
ขณะที่ ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs คาดหวังให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งออกมาตรการเพื่อปกป้อง ลดความได้เปรียบของผู้ประกอบการและทุนจากต่างชาติและเสริมแกร่งให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันในตลาดที่เป็นธรรมและอยู่รอดได้ในสมรภูมิเดือดนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการเข้ามาของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีน ไม่ว่าจะเป็น Shopee Lazada รวมไปถึงแพลตฟอร์ม Shoppertainment อย่าง TikTok ซึ่งทำให้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาตไทยไม่ได้ไปต่อ และ ยุติกิจการลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ล่าสุด Temu แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีนต่อท่อตรงสินค้าจากจีน มายังผู้บริโภคในประเทศไทย ซึ่ง แพลตฟอรม์ ดังกล่าวได้สั่นสะเทือนวงการอีคอมเมิร์ซของสหรัฐอเมริการและอีกหลายประเทศมาแล้วด้วยจุดขายสินค้าราคาถูก ส่งถึงมือผู้ซื้อได้เร็ว และรับประกันความพึงพอใจ
ตลาดเข้าสู่ยุคเชื่อฟังผู้บริโภคด้วยกัน
ทั้งนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่หลังวิกฤตโควิด-19 เมื่อ 3-4 ปี ที่ผ่านมา ตลาดและผูบ้ ริโภคในประเทศไทยเข้าสู่ยุค Social-Driven Society อย่างเต็มตัว (Social-Driven Society = ยุคที่ผู้บิรโภคฟังและเชื่อถือผู้บริโภค ด้วยกันมากขึ้น) โดย MI GROUP คาดการณ์มูลค่าอีคอมเมิร์ซในไทยจะแตะ 1,000,000 ล้านบาท ในช่วง 1-2 ปีนี้อย่างแน่นอน
ขณะที่ ภาพรวมบรรยากาศของตลาดในประเทศเป็นที่ชัดเจนว่า Influencer Marketing กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของนักการตลาดและสื่อสารการตลาดในยุคที่ Influencer มีหน้าที่หลักในส่วน lower funnel เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดแอคชั่นต่อแบรนด์สินค้าและบริการนั้นๆ เพื่อเพิ่มยอดขายท่ามกลางสภาวะที่กำลังซื้อยังคงซบเซา
โดย Influencer Marketing ถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักทางการตลาด ดันเม็ดเงินในส่วนนี้เติบโตแบบก้าวกระโดดเฉลี่ยแตะมากกว่า 30% ของงบโฆษณาในแต่ละแคมเปญ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าขนาดของแคมเปญและงบประมาณ) และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง นี่ยังไม่นับรวม Affiliate Marketing (การตลาดแบบช่วยขาย แล้วแบ่งกำไร) ที่เป็นตัวผลักดันหลักให้ จำนวนInfluencers ในไทยพุ่งแตะกว่า 2 ล้านราย