“สมหมาย” อดีต รมว.คลัง ประเมินแจกเงินดิทัลหมื่นบาท ทำรัฐบาลหัวหมุน ทำอะไรก็มีปัญหาอุปสรรคไปหมด
นายสมหมาย ภาษี อดีต รมว.คลัง เขียนเฟสบุ๊ก Sommai Phasee - - สมหมาย ภาษี ว่า
เงินดิจิทัลในภาวะ “ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก”
นโยบายแจกเงินดิจิทัลของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคนําของรัฐบาลปัจจุบันดูเหมือนว่าจะติดหล่มยึกยัก จนหาช่องหายใจไม่ได้จนถึงทุกวันนี้เสียแล้ว เพราะถึงขณะนี้ยังไม่รู้ว่าวิธีดําเนินการจะทําอย่างไรกันแน่ ทราบแต่ เพียงว่าจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา ดูเหมือนว่าจะใช้วิธีเดียวกันกับรัฐบาล 8 ปีที่เพิ่งหมดยุค ออกไปนั่นแหละ
ประเทศไทยแม้ว่าต้องอยู่กับภาวะการเงินการคลังที่ไม่ค่อยจะดีแถมต้องเจอกับมรสุมรุนแรงด้านเศรษฐกิจมาหลายครั้งตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าเนื่องจากวิกฤตนํ้ามันสมัยท่านนายกป๋าเปรมประมาณช่วงปี 2523 - 2524 ภาวะเศรษฐกิจต้มยํากุ้งที ่ทําให้สถาบันการเงินและธุรกิจเอกชนล้มระเนระนาดในปี2540 จนถึงภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า และในช่วง 2554 – 55 ยุคที่คนไทยมีแต่การแยกกันเป็นสีต่างๆ ออกมาเดินตาม ท้องถนนในยุคจํานําข้าวเปลือก เป็นต้น ซึ่งเราก็เอาตัวรอดมาได้ทุกครั้ง แต่อย่าลืมนะครับว่าทุกครั้งจะมี ต้นทุนที่ประชาชนผู้เสียภาษีอากรต้องรับภาระจ่ายมากมายมหาศาล และไม่ใช่จ่ายครั้งเดียวจบ แต่ต้องนํา ภาษีอากรในอนาคตมาจ่ายหนี้ก้อนโต ซึ่งวันนี้ก็ยังมีภาระอีกมากเป็นหลักแสนๆล้านบาท
แล้วตอนนี้คนไทยทุกคนก็กําลังเห็นชัดกับเงินดิจิทัลที่รัฐบาลโดยการนําของพรรคเพื่อไทยกําลังจะนําออกมาแจกภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีงบประมาณนี้เป็นจํานวนถึง 560,000.- ล้านบาท จากงบประมาณ รายจ่ายประจําปีนี้จํานวน 3,480,000.- ล้านบาท หรือเท่ากับ 16 % ของงบทั้งปีซึ่งเงินยอดนี้โตเกือบเท่างบประมาณขาดดุลที่รัฐบาลต้องไปกู้เงินมาใช้ตามปกติทีเดียว
คําถามที่ทั้งประชาชนและผู้รับผิดชอบในรัฐบาล นับตั้งแต่ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ลงมา จนถึงท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กําลังหาคําตอบอย่างหัวปักหัวปํา อยู่ในขณะนี้คือ จะหาเงินจํานวน 560,000.- ล้านบาท นี้มาจากไหน โดยไม่ไปสร้างภาระหนี้สาธารณะให้ เพิ่มขึ้นมากจนออกนอกกรอบ อะไรทํานองนี้
เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย กรอบด้านการคลังที่ออกมาเป็นกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบ ที่คนที่ได้ทํางานให้ประเทศชาติด้านการเงินการคลังรุ่นก่อนๆได้วางไว้ให้รัฐบาลใช้เพื่อกํากับ ดูแลเศรษฐกิจและการเงินการคลังของประเทศนั้น ถือว่ารัดกุมแต่ก็เปิดความคล่องตัวให้รัฐบาลใช้บริหาร การเงินการคลังอย่างมีวินัยและมีธรรมาภิบาลได้เป็นอย่างดี
ดีจริงๆครับ แต่ที่ไม่ดีคือโครงสร้างด้านการคลังของไทยถูกรัฐบาลยุคหลังๆทําให้ไขว้เขวจนบูด เบี้ยว คือจะให้โตแต่ด้านรายจ่าย ซึ่งรวมรายจ่ายที่โยงกับการคอร์รัปชั่นไปถึง 20 – 30 % แต่ด้านรายได้ กลับไม่ได้รับการใส่ใจดูแล และด้านคอร์รัปชั่นก็มีแต่เลวลง นี่คือปัญหาใหญ่ของประเทศ
ขอยกตัวอย่างว่ากรอบการคลังของไทยที่ดีสักเรื่อง คือ บรรดางบประมาณที่รัฐบาลต้องเอาไปใช้จ่าย ในเรื่องใดก็ตาม ต้องมีที่มาจากรายได้ของรัฐบาลเท่านั้น ถ้าจะเอาจากรัฐวิสาหกิจก็ต้องให้เขาแบ่งกําไรแต่ละปี มาให้เป็นรายได้ของรัฐก่อน แล้วก็เอารายได้อื่นที่เป็นของรัฐมาใส่เข้าไป เช่น รายได้จากค่าสัมปทาน เป็นต้น
ซึ่งปกติทุกปีรายได้ของรัฐบาลจะไม่พอ ขาดเท่าไหร่ก็ต้องกู้เงินมาจากแหล่งเงินต่างๆ ที่สําคัญคือจากตลาด ตราสารหนี้ยอดเงินที่ต้องกู้มานี้เรียกว่า ยอดการคลังขาดดุล ซึ่งมีกรอบเป็นกฎหมายที่ชัดเจนว่าแต่ละปีจะกู้ มาได้เท่าไหร่ ส่วนเงินที ่รัฐจะนําออกมาใช้จะเป็นเงินดิจิทัล หรือ แอปเป๋าตัง หรือเป็นธนบัตรที่ต้องพิมพ์ ออกมา ก็ต้องอยู่ในกรอบนี้นอกกรอบนี้ทําไม่ได้ครับ
เคยมีทํากันนอกกรอบบ้างในอดีต เช่น โครงการจํานําข้าวสมัยรัฐบาลท่านยิ่งลักษณ์ชินวัตร โดยไปขอ แบบบังคับให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.) เอาเงินสํารองที่มีอยู่มาใช้ก่อน เพราะถือว่าเป็นเรื่อง การเกษตร และตั้งโจทย์ว่าเป็นเงินหมุนเวียนไม่ได้คิดเรื่องของการขาดทุนที่มากมายเลย ผ่านมาประมาณ 10 ปี แล้ว จนทุกวันนี้ยังมีหนี้คงค้างที่ ธกส. ต้องแบกรับรอทยอยการชําระจากกระทรวงการคลังถึง 200,000 กว่า ล้านบาท งานนี้แม้รัฐบาลจะตั้งงบประมาณทยอยจ่ายให้ทุกปีแต่ ธกส. ก็เจ็บตัวและเหนื่อยฟรี
มีข่าวออกมาทางสื่อว่ารัฐบาลจะไปเอาเงินจากธนาคารออมสินมาใช้เพื่อการนี้สักประมาณ 200,000 ล้านบาท พอข่าวออกคนฝากเงินก็ขยับตัวที่จะถอนเงินฝากที่ฝากกันมาจนแก่เฒ่าออกอย่างนี้ก็เป็นเรื่อง อันตรายนะครับ ธนาคารออมสินถูกตั้งขึ้นมาเพื่อให้ช่วยรัฐบาล แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบที่วางไว้ไม่ใช่ใช้วิธีตาแป๊ะ ไปหยิบเอาเงินอาม่าที่นอนหายใจระรวยมาใช้นะครับ
ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีข่าวว่ารัฐบาลอาจต้องปิดทําการ หรือ ชัตดาวน์ในเร็วๆนี้เมื่อวันเสาร์ที่30 กันยายนที่ผ่านมา สองพรรคการเมืองใหญ่ตกลงกันได้ให้แก้ปัญหาชั่วคราวโดยสภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่าง งบประมาณระยะสั้นให้ใช้จ่ายงบประมาณต่อไปได้อีก 45 วัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐบาลของไบเดน ได้กู้เงินชน เพดานหนี้แล้ว จะไปกู้เงินเพิ่มอีกไม่ได้แล้ว พูดภาษาชาวบ้านก็คือรัฐบาลไปพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาไม่ได้อีก แล้ว ต้องถูกชัตดาวน์เท่านั้น ผมเคยฟังคนไทยพูดกันเรื่อยว่า รัฐบาลอเมริกาจะพิมพ์แบงค์ดอลลาร์ออกมา เมื่อไหร่เท่าไหร่ก็ได้อ่านเรื่องนี้คงเข้าใจนะครับว่าอเมริกาใหญ่อย่างไรก็พิมพ์แบงค์ดอลลาร์ตามใจชอบไม่ได้
ได้เห็นงบประมาณรายจ่ายเบื้องต้นของรัฐบาลใหม่ ประจําปี2567 แล้ว รู้สึกเห็นใจแทนเหลือเกิน กล่าวคือ งบประมาณ 3.480 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้ว 9.26 % ประมาณการรายได้2.787 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้ว 11.93 % อันนี้เรียกกว่าเบ่งเต็มที่แล้ว ด้วยประมาณการของสถาบันการเงินนานาชาติว่าเราจะ โตได้2.5 – 3.5 % แค่นั้น การจะเก็บรายได้เพิ่มถึง 12 % เป็นไปไม่ได้ถ้าหากไม่รีบปรับปรุงเรื่องภาษีให้เป็น รูปธรรมโดยเร่งด่วน
ที่สําคัญโปรดสังเกตงบขาดดุลงบประมาณปีนี้ที่กําหนดไว้693,000.- ล้านบาท ลดจากยอดขาดดุล ปีที่แล้วจํานวน 695,000.- ล้านบาท หน่อยหนึ่ง ตัวนี้ชี้ให้เห็นชัดมากกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว แสดงว่าปีนี้ติด กรอบการเงินการคลังที่ผมบอกว่าเป็นกรอบที่ดีและรัดกุมแบบไม่มีช่องให้ดิ้นได้อีกแล้ว
ดังนั้น ถ้ารัฐบาลนี้ทําอย่างที่พูดว่าจะรักษาวินัยทางการคลังจริงๆละก็ต้องใช้มีดที่คมกริบหั่น งบประมาณ 3.480 ล้านล้านบาท ลงให้ได้อย่างน้อย 10 % หรือเท่ากับ 348,000.- ล้านบาท แล้ว นําไปใช้ทําเป็นเงินดิจิทัลแจกประชาชนเฉพาะที่ยากจนจริงๆเท่านั้น ก็จะได้ผลตามความเห็นและ ความเป็นห่วงของท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย