หมอตุลย์ ยื่น ปธ.วุฒิสภา ขอ สว. เช้าชื่อถอดถอน “อุ๊งอิ๊งค์” พ้นเก้าอี้ รมว.วัฒนธรรม ขาดคุณสมบัติตาม รธน.
ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภา ขอให้ สว.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อถอดถอน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งตามที่ประธานรัฐสภาได้ยื่นคำร้องของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 36 คนต่อศาลธรรมนูญให้วินิจฉัยถอดถอน นางสาวแพทองธาร จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2560 ตามมาตรา 160 (4) และ (5) กล่าวคือไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมทำอย่างร้ายแรง ซึ่งในวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว และมีคำสั่งให้นางสาวแพทองธาร หยุดปฎิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นต้นไป จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย
เบื้องต้น ต้องมีการขอรายชื่อทั้งหมด 20 คนซึ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคลิปสนทนาระหว่างนางสาวแพทองธาร และสมเด็จ ฮุนเซน คนทั้งประเทศคงได้ยินและเห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องที่แสดงถึงความไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่และประพฤติผิดจริยธรรมต่อร้ายแรง ซึ่งเป็นที่สงสัยว่าก่อนที่จะมีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีได้ทูลเกล้าฯ ชื่อตนเองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนเองกำลังถูกพิจารณาและวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญ ในข้อหาขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ ประพฤติผิดจริยธรรมและไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งคนทั้งประเทศได้ตั้งข้อสงสัยว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตามที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ได้หรือไม่ ซึ่งตามกลไกแล้วมีกระบวนการรัฐธรรมนูญได้พิจารณา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งไม่มีพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลยื่นในการตรวจสอบเลยจึงได้ให้สมาชิกวุฒิสภาขอยื่นเสนอให้โปรดพิจารณาร่วมกันยื่นคำร้องซึ่งไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 หรือ 20 คน ซึ่งขอให้ฟังเสียงเรียกร้องจากประชาชน
สำหรับกระบวนการร้องขอนี้ ตนทำในนามส่วนตัวซึ่งมีคนสงสัยว่าเกิดเรื่องนี้ได้อย่างไร ตนมองว่าเกิดจากการที่นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นบิดาของนางสาวแพทองธาร อยากให้มีสายอำนาจอยู่ในคณะรัฐมนตรีต่อไป คงได้มีการปรึกษากับทนายความเพื่อคงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมไว้ เช่นเดียวกับ ในสมัยของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกหยุดปฏิบัติหน้าที่แต่ยังคงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไว้ ซึ่งพลเอกประยุทธ์ไม่ได้ถูกถอดถอนในเรื่องขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ แต่เป็นเรื่องที่มีข้อสงสัยตามรัฐธรรมนูญ ว่าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปีหรือไม่ ซึ่งในคำวินิจฉัยสุดท้ายสามารถดำรงตำแหน่งได้ต่อ ดังนั้นในกรณีนี้ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้ เป็นการยื่นถอดถอนกันคนละมาตรา