ผลสอบตึกสตง.ถล่มเผย"การออกแบบ-คำนวณโครงสร้าง" ไม่สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร

ผลสอบตึกสตง.ถล่มเผย
คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตึกสตง.ถล่ม ระบุการออกแบบและการคำนวณโครงสร้างของอาคาร อาจไม่สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร ยันหากมีการการออกแบบตามกฎหมาย อาคารไม่ควรเกิดพังถล่ม ขอเวลา90 วันสอบให้สิ้นสงสัย

ผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีตึกสำนักงานสตง.ถล่ม จากกรณีแผ่นดินไหว ตามคำสั่ง นายนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ตามกรอบ 7 วัน โดย ได้มีการรายงานให้กับนายกรัฐมนตรีทราบถึงผลการสอบสวนดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา ที่ทำเนียบรัฐบาล พบว่า การออกแบบและการคำนวณโครงสร้างของอาคาร สตง.นั้น อาจไม่สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร

อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นผลที่ทำให้โครงสร้างอาคารฟังถล่ม เพราะต้องใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงจากสถาบันการศึกษา 4 แห่งและกรมโยธาธิการและผังเมืองรวม 5 แห่งเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้เวลาประมาณ 90 วัน รวมถึงประเด็นการก่อสร้างอาคาร การตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเรื่องคุณภาพวัสดุก่อสร้าง การตรวจสอบเหล็ก การตรวจสอบคอนกรีต การเก็บตัวอย่างเพื่อทดสอบต้องเก็บในที่เกิดเหตุปัจจุบันยังเข้าเก็บไม่ได้ต้องรอการกู้ชีพแล้วเสร็จ จึงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าว ระบุถึงแนวทางสอบข้อเท็จจริง โดยได้กำหนดปัจจัยที่ส่งผลต่อการพังทลายของอาคารสตง.โดยแบ่ง ออกเป็น  4 ปัจจัย 

ปัจจัยแรก คือแรงสั่นสะเทือนที่กระทำต่อโครงสร้างจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว พบว่า แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ขนาด 7.7 แมกนิจูดที่ประเทศเมียนม่า จากการวิเคราะห์พบว่า แรงจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจริง มีความแรงน้อยกว่าจากแผ่นดินไหวสำหรับการออกแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หากมีการการออกแบบตามกฎหมายอาคารไม่ควรเกิดพังถล่ม

ปัจจัยที่ 2 การออกแบบและการคำนวณโครงสร้างสรุปว่ากฎหมายควบคุมอาคารกำหนดวิธีคำนวณแรงแผ่นดินไหวไว้ตามลักษณะของอาคารได้แก่ 
1.อาคารที่มีรูปทรงสม่ำเสมอ
2.อาคารที่มีรูปทรงที่ไม่สม่ำเสมอ
-วิธีการคำนวณสำหรับอาคารที่ไม่สม่ำเสมอต้องใช้วิธีเชิงพลศาสตร์
-อาคารสตง.ที่พังถล่ม จากการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่าเป็นอาคารที่มีรูปทรงไม่สม่ำเสมอ แต่ไม่ได้ใช้การคำนวณวิธีเชิงกลศาสตร์
-ไม่สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร
-แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นผลทำให้โครงสร้างอาคารฟังถล่มเพราะต้องใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงจากสถาบันการศึกษา 4 แห่งและกรมโยธาธิการและผังเมืองรวม 5 แห่งเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้เวลาประมาณ 90 วัน

ปัจจัยที่ 3 การก่อสร้างอาคาร
การตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง 
1.สัญญาการก่อสร้างและสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม
2.เอกสารการตรวจรับพัสดุ 
3.เอกสารควบคุมงาน 
4 อื่นๆ

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบที่เกิดเหตุยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้เนื่องจากรอการกู้ชีพแล้วเสร็จประกอบกับอาคารพังเสียหายทั้งหลังทำให้ไม่สามารถตรวจสอบขนาดองค์กรประกอบของอาคารเปรียบเทียบกับแบบก่อสร้าง

ปัจจัยที่ 4 เรื่องคุณภาพวัสดุก่อสร้าง
การตรวจสอบเหล็ก
1.ตรวจสอบได้เฉพาะที่กองเก็บวัสดุนอกสถานที่เกิดเหตุ
2.ตรวจสอบได้เฉพาะเครื่องหมายที่เหล็กเส้นและส่วนประกอบทางเคมี
3.ตรวจสอบการรับแรงดึงต้องใช้เหล็กที่มีสภาพสมบูรณ์ที่อยู่ในชิ้นส่วนคอนกรีต
-การเก็บตัวอย่างเพื่อทดสอบต้องเก็บในที่เกิดเหตุปัจจุบันยังเข้าเก็บไม่ได้ต้องรอการกู้ชีพแล้วเสร็จ
-จะมีการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การตรวจสอบคอนกรีต 
1.การพังทลายของอาคารทั้งหลังทำให้คอนกรีตส่วนใหญ่สูญเสียคุณสมบัติการรับแรง
2.สันนิษฐานว่าคอนกรีตที่มีคุณภาพดีอยู่ชั้นล่างใต้อาคารต้องรอการเคลียร์พื้นที่จึงจะสามารถเข้าตรวจสอบได้

ข้อสรุป
-แรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นครั้งนี้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ไม่เกินตามที่กฎหมายควบคุมอาการกำหนดไว้

-มีข้อสงสัยที่รายการคำนวณของการออกแบบของอาคารสตง.ที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคารแต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีเหตุผลให้อาคารพังถล่มจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ขั้นสูงซึ่งจะมีสถาบันการศึกษา 4 แห่งและกรมโยธาธิการและผังเมืองแยกดำเนินการวิเคราะห์เพื่อนำผลมาเปรียบเทียบกันโดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 90 วัน

-การตรวจสอบการก่อสร้างว่าเป็นไปตามแบบหรือไม่สามารถตรวจสอบได้เฉพาะเอกสารเท่านั้นเนื่องจากอาคารได้พังถล่มทั้งหลังต้องรอหลังจากการเคลียร์พื้นที่จึงจะสามารถตรวจสอบโครงสร้างที่เหลืออยู่ได้

-คุณภาพวัสดุการก่อสร้างจะตรวจสอบได้เฉพาะเหล็กที่มีเครื่องหมายยี่ห้อในบริเวณที่กองเก็บซากวัสดุเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับเอกสารที่ได้ขออนุมัติและนำมาทดสอบได้เฉพาะส่วนประกอบทางเคมีซึ่งการทดสอบรับแรงดึงต้องใช้เหล็กในชิ้นส่วนคอนกรีตที่มีสภาพสมบูรณ์เท่านั้นส่วนคอนกรีตต้องรอการเคลียร์พื้นที่จึงจะสามารถเข้าไปตรวจสอบได้

TAGS: #ตึกสตง.ถล่ม #แผ่นดินไหว #นายกฯ #อนุทิน #ผลสอบตึกถล่ม