โดย...สมาน สุดโต
27 ตุลาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จทรงทอดพระกฐิน ทางกระบวนพยุหยาตรา(ใหญ่)ชลมารค ณ วัดอรุณราชวราาม ที่ประชาชนรอคอยชม
ความอลังการและพระบารมีด้วยใจจดจ่อ
ความอลังการแห่ง กระบวนพยุหยาตรา(ใหญ่)ชลมารค ที่นับว่ามีแห่งเดียวในโลกนั้น ประกอบด้วยเรือพระที่นั่ง เช่นเรืเอสุพรรณหงส์ ที่จำหลักหัวหงส์ เป็นโขนเรือ
พร้อมด้วยเรือพระที่นั่งที่มีพญานาคเป็นโขนเรือ และเรือพระนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 ที่จำหลักพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ ติดตามด้วยเรือรูปสัตว์มงคล ที่ทรงอิทธิฤทธิ์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู และวรรณกรรมไทยเป็นโขนเรือ
สำหรับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ซึ่งเป็นเอกนั้น งดงามอย่างอัศจรรย์ จนได้รับรางวัลจากองค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ว่าเป็นเรือมรดกโลกทางทะเล เมื่อ พ.ศ.2535
นอกจากนั้น กาพย์เห่เรือที่ขับขาน กึกกัองเจ้าพระยา ขณะที่ซ้อมย่อยและเสมือนจริง ได้พรรณาความงามว่า
"สุวรรณหงส์ ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธ์ เพียงหงส์ ทรงพรหมินทร์ รินหลากเลิ่อน เตือนตาชม"
ความเป็นมาของเรือสุพรรณหงส์นั้น กรมศิลปากรเล่าไว้ในหนังสือ เรือพระราชพิธีว่า
เป็นเรือสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2454)แทนของเก่าที่ชำรุด
โขนเรือเป็นรูปหงส์ พาหนะของพระพรหม ในศาสนาฮินดู
การใช้รูปหงส์เป็นโขนเรือพระที่นั่ง ถือว่าเป็นสุดยอดศิลปกรรมที่นำหงส์มาใช้ในการรักษาขนบประเพณี สะทัอนความเชื่อที่สืบเนื่องมาแต่บรรพกาล
การประดับตกแต่งตัวเรือนั้น ประณีตด้วยการจำหลักไม้ ลงรักปิดทอง ประดับกระจก มีพู่ห้อย ส่วนปลายพู่เป็นแก้วผลึก
ตอนกลางเรือทอดราชบัลลังก์กัญญา ซึ่งเป็นที่ประทับ
เรือมีความยาว 46.51 เมตร กว้าง 3.17 เมตร ท้องเรือลึก 94 เซ็นติเมตร กินน้ำลึก 41 เซ็นติเมตร น้ำหนัก 15 ตัน
ใช้ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1คน พลสัญญาณ 1คน ถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1คนทำหน้าที่ร้องขานเพลงเรือ โดยฝีพายรัองเห่ พร้อมกับจังหวะเรือลำอื่น
ส่วนเรือพระที่นั่ง อนันตนาคราช ประกอบด้วย พญานาค 7 เศียร ที่จำหลักงามเลิศเป็นโขนเรือ ภายในเรือ ตั้งบุษบก สำหรับประดิษฐาน พระพุทธรูป หรือผ้าพระกฐิน เรือนี้มีความยาว 44. 85 เมตร กว้าง 2 .58 เมตร สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 แทนลำเก่าที่ชำรุด
เรืออเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่ง สำหรับเปลื้องเครื่อง หรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระเจ้าอยู่หัว ก่อนเสด็จขึ้นหรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ
หัวเรืออเนกชาติภุชงค์นี้ เป็นรูปนาคตัวเล็กจำนวนมาก ลงรักปิดทองลายรดน้ำ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งรอง สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
เมื่อ พ.ศ. 2539 เนื่องในพิธีกาญจนาภิเษก ดำเนินการสร้างโดยกองทัพเรือและกรมศิลปากร
โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ ที่ได้รับอิทธิพลจากฮินดู
อันพระวิษณุนั้น เป็นหนึ่งใน 3 เทพของฮินดู อีก 2 คือพระพรหมและพระศิวะ
สำหรับตัวเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 มีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3. 20 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 1.10 เมตร กินน้ำลึก 40 เมตร น้ำหนัก 20 ตัน ใช้กำลังพลเป็นฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน
ถือธงท้าย 1 พลสัญญาณ 1 คน
ถือฉัตร 7 คน และ คนเห่เรือ 1คน
ความเป็นมากระบวนพยุหยตราฯ
กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นโบราณราชประเพณีไทย มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ไม่เคยขาดตอน จนถึงรัตนโกสินทร์ เว้นแต่ พ.ศ.2475 สมัยรัชกาลที่ 7 ที่ระงับไป เพราะการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยนั้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ที่ 9 ทรงครองราชสมบัติ (พ.ศ.2489) ทรงรื้อฟื้นพระราชพิธีนี้ เพื่องานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ 2500
หลังจากนั้นได้จัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค แบบริ้วกระบวนน้อย เพื่อเสด็จ ทอดพระกฐิน ณวัดอรุณราชวรารามหลายครั้งด้วยกัน
และจัดเกระบวน พยุหยาตราชลมารค ริ้วกระชวนใหญ่ อีก 6 ครั้ง ได้แก่งานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525 และ
สุดท้าย โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีขึ้นเพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะ จากประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขจาก 25 ประเทศ ที่เสด็จมาในพระราชพิธีมหามงคล การครองสิริราชสมบัติ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อพ.ศ 2549
สำหรับกระบวนพยุหยาตราชลมารค 27 ตุลาคม 2567 เป็นริ้วกระบวนใหญ่ มีเรือพระที่นั่งและเรืออื่นๆ จำนวน 52 ลำ ความยาวของกระบวน 1,280 เมตร กว้าง 10 เมตร พลประจำเรือ 2,399 นาย
ระยะทางจากท่าวาสุกรี ถึงวัดอรุณราชวราราม รวม 3.9 กิโลเมตร
ผู้เขียนคิดว่าไม่มีใครพลาดที่จะไปเฝ้ารับเสด็จ และชมภาพประทับใจในมรดกชาติ หนึ่งเดียวในโลก ในวันซ้อมใหญ่เสมือนจริงวันที่ 22 ตุลาคม 2567
และวันเสด็จพยุหยาตราชลมารค 27 ตุลาคม 2567