โบรกฯ เผยทิศทางราคาผู้ผลิตในจีนหดตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี กดดันสินค้าราคาถูก เสี่ยงไหลเข้าสู่ไทย-อาเซียน

โบรกฯ เผยทิศทางราคาผู้ผลิตในจีนหดตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี กดดันสินค้าราคาถูก เสี่ยงไหลเข้าสู่ไทย-อาเซียน
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เผยดัชนีราคาผู้ผลิตของจีน (PPI) เดือน มิ.ย.68 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 33 อยู่ที่-3.6% YoY หดตัวที่ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี กดดันปัญหาสินค้าราคาถูกที่จะไหลเข้าสู่อาเซียน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าทิศทางราคาผู้ผลิตในจีนที่ยังมีแนวโน้มหดตัวจะยิ่งกดดันปัญหาสินค้าราคาถูกที่จะไหลเข้าสู่อาเซียนรวมถึงไทยโดยเมื่อมองไประยะข้างหน้าผู้ผลิตในจีนยังมีแนวโน้มปรับลดราคาสินค้าลงจากปัญหาก าลังการผลิตส่วนเกินที่ได้รับปัจจัยกดดันจากปัญหาสงครามการค้าตั้งแต่ 1 ส.ค. 2658 ที่ระดับภาษีในแต่ละประเทศมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น โดยสินค้าคงคลังในบางอุตสาหกรรมของจีนเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ยายังอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะกดดันต่อเนื่องไปถึงทิศทางระดับราคาสินค้าในประเทศที่จีนส่งออกสินค้าไปโดยเฉพาะประเทศในอาเซียนอย่างเวียดนามรวมถึงไทย

โดยในเดือนมิ.ย.68 ดัชนีราคาผู้ผลิตของจีน (PPI) หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 33 อยู่ที่ -3.6% YoY ซึ่งเป็นระดับหดตัวที่ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี ระดับราคาสินค้าผู้ผลิตหดตัวในทุกกลุ่มสินค้าโดยเฉพาะในส่วนของถ่านหิน (-21.8%YoY) ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ (-12.6%YoY) รวมถึงเหล็ก (-11.3%YoY)

ขณะที่เงินเฟ้อจีน (CPI) กลับมาขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยปัจจัยหนุนหลักมาจากมาตรการสนับสนุนภาคการบริโภคของภาครัฐ เช่น โครงการของเก่าแลกของใหม่ (Trade-in Program) โดยระดับราคาของเครื่องใช้ภายในบ้านขยายตัวที่ 0.7%YoYจาก 0.1%YoY ในเดือนพ.ค.68 อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำที่0.1%YoY จากทิศทางการใช้จ่ายภายในประเทศที่ยังไม่แน่นอน และการปรับลดราคาสินค้าของผู้ผลิตตามทิศทางดัชนีราคาผู้ผลิต(PPI) ที่ยังปรับลดลง
อีกทั้งในระยะข้างหน้าจีนยังมีความเสี่ยงด้านเงินฝืดโดยเงินเฟ้อมีทิศทางอยู่ในระดับต่ำตลอดทั้งปี 2568 มีรายละเอียด ดังนี้

1.ผลบวกจากโครงการของเก่าแลกของใหม่ (Trade-in Program) คาดว่าจะลดลงในครึ่งหลังของปี เนื่องจากสินค้าในโครงการเป็นสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ และ Smartphones อีกทั้งรัฐบาลท้องถิ่นบางแห่งเริ่มประกาศระงับเงินอุดหนุน และจำกัดโควตารายวันหลังเริ่มเผชิญปัญหาขาดแคลนเงินทุน

2.ความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยังไม่แน่นอนสูงกดดันภาคการผลิตในจีน แม้จะมีข้อตกลงปรับลดภาษีชั่วคราวระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่อัตราภาษีปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับสูง รวมถึงทิศทางและระดับการเก็บภาษีในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงทำให้ผู้ผลิตมีแนวโน้มชะลอการลงทุน และการผลิต สะท้อนผ่านผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตชะลอลงต่อเนื่อง

3.ผู้ผลิตในจีนยังคงเผชิญสงครามราคาในหลายอุตสาหกรรมโดยกำไรภาคอุตสาหกรรมในจีนเดือนพ.ค.68 หดตัวลงอย่างมาก

TAGS: #ศูนย์วิจัยกสิกรไทย #ราคาผู้ผลิตจีน