กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1.75% ต่อปี โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน จากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบสูงจากสถานการณ์นโยบายการค้าสหรัฐฯ
การปรับลดอัตราดอกเบี้ย จากผลกระทบจาก tariff ที่คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มต่ำกว่าคาด ขณะที่ภาวะการเงินที่ยังตึงตัว
ล่าสุด กนง. มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 1.75% ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ 2/2568 ลดลงต่อเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน โดยมีสาระสำคัญดังนี้
•ความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย จากสถานการณ์นโยบายการค้าสหรัฐฯ และการตอบโต้ของประเทศเศรษฐกิจหลักนำไปสู่การ
ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจ การเงิน และ
การค้าโลกอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปัจจุบันยังอยู่ในระยะเริ่มต้นที่ความไม่แน่นอนสูงมาก ประกอบกับเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ชะลอตัวกว่าที่คาดจากนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออก
และการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง
มองไปข้างหน้า นโยบายการค้าโลกจะเริ่มส่งผล
กระทบชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี
2568 เป็นต้นไป
•กนง. ได้วิเคราะห์ผลกระทบภายใต้ 2 scenario
1.Reference Scenario (Lower Tariffs): การ
เจรจายืดเยื้อและล่าช้า โดยสหรัฐฯ มีการผ่อนผัน
Reciprocal Tariff ให้กับคู่ค้าเป็นระยะ รวมถึง
ผ่อนผันอัตราภาษีให้กับจีนตั้งแต่ Q3/2568
เศรษฐกิจไทยปี 2025 อาจขยายตัวร้อยละ 2.0
2Alternative Scenario (Higher Tariffs):
สถานการณ์ที่ทุกประเทศเจรจาลดภาษีได้ครึ่งหนึ่งของ Reciprocal Tariff ตั้งแต่ Q3/2568 และ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเข้าสู่ Technical
Recession ในปีนี้ เศรษฐกิจไทยปี 2568 อาจ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3
อีกทั้งภาวะการเงินของไทยยังคงมีความตึงตัว สะท้อนจากสินเชื่อที่ยังหดตัวแม้จะมีสัญญาณ การทรงตัว โดยข้อมูล ณ ก.พ. 68 สินเชื่อรวม (ไม่รวมภาครัฐ) หดตัว -0.5% โดย SMEs สินเชื่อยังคงหดตัวที่ -3.0% ด้านคุณภาพสินเชื่อธุรกิจทรงตัว สะท้อนภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังอ่อนแรง
นอกจากนี้ กนง. แสดงความกังวลถึงความเสี่ยง
ที่อาจเพิ่มขึ้น จากการที่นโยบายการค้าโลกสร้าง
แรงกดดันเพิ่มเติมต่อฐานะการเงินของภาคธุรกิจ
และครัวเรือน โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่คาดว่า
จะได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจาก
Tariff ของสหรัฐที่จะปรับสูงขึ้นมากหากการ
เจรจาการค้าของไทยไม่บรรลุผล
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป กนง. ประเมินว่ามีแนวโน้ม ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมาย จากปัจจัย ด้านอุปทานโดยเฉพาะราคาน้ามันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐเป็นสำคัญ โดยราคาน้ำมันดูไบปรับลดลงจากประมาณการรอบก่อน โดยในปี 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 71 USD/bbl ใน Reference Scenario
และ 68 USD/bbl ใน Alternative Scenario
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทรงตัว และ
เงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยว
อยู่ในกรอบเป้าหมาย อย่างไรก็ดี กนง. ประเมินว่า
นโยบายกีดกันทางการค้าและการเปลี่ยนแปลง
ห่วงโซ่การผลิตโลกอาจส่งผลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป กนง. ประเมินว่ามีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมาย จากปัจจัยด้านอุปทานโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐเป็นสำคัญ โดยราคาน้ำมันดูไบปรับลดลงจากประมาณการรอบก่อน โดยในปี 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 71 USD/bbl ใน Reference Scenario และ 68 USD/bbl ใน Alternative Scenario
รวมถึงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทรงตัว และเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย อย่างไรก็ดี กนง. ประเมินว่านโยบายกีดกันทางการค้าและการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่การผลิตโลกอาจส่งผลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า
ด้าน Krungthai COMPASS คาด กนง. อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมสู่ระดับ 1.50%จากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบรุนแรงจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ โดยมองว่าช่วงเวลาของการตัดสินนโยบายครั้งต่อไป กนง. จะพิจารณาจากพัฒนาการของการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ หลังพ้นกรอบระยะเวลายกเว้นการเก็บภาษี 90วัน และพัฒนาการของเศรษฐกิจไทย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดจาก policy space ที่มีจำกัด
โดยการประชุมครั้งต่อไปช่วงปลายเดือน มิ.ย. หาก กนง. ตัดสินใจลดดอกเบี้ยอีกครั้ง จะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง 3 การประชุมเช่นเดียวกับช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินโลก 2008 ( GFC ) และโควิด-19
อย่างไรก็ตามในระยะข้างหน้าต้องติดตามช่วงเวลาและขนาดของการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของ กนง. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท หลังแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยไทยมีทิศทางต่ำลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ (Fed) ยังไม่ความไม่แน่นอนจากผลกระทบจากการขึ้นภาษีนำเข้าที่อาจส่งผลให้เงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเงินบาทในช่วงนับตั้งแต่การเลือกตั้ง ปธน. สหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. 2024 มีทิศทางแข็งค่าสูงกว่าประเทศในภูมิภาค โดยเป็นรองเพียงญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์