รู้จัก Kahoot! นอร์เวย์ AI เรียนออนไลน์ เจาะไทย ดึงแนวคิด ‘Gamified’ เล่นให้รู้ตลอดชีวิต

รู้จัก Kahoot! นอร์เวย์ AI เรียนออนไลน์ เจาะไทย ดึงแนวคิด ‘Gamified’ เล่นให้รู้ตลอดชีวิต
Kahoot! บุกไทยพลิกแนวการศึกษาสร้างการเรียนรู้ตลอดไปรับโลกยุคใหม่ ‘เอไอ’  แก้เพนพอยต์ความท้าทายตลาดการศึกษา ผู้สอนขาด-นักเรียนเบื่อหน่าย

เมย์รา โคโปเนน ผู้จัดการการออกแบบการเรียนรู้ Kahoot! แพลตฟอร์มการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมระดับโลก จากประเทศนอร์เวย์ เปิดเผยว่า Kahoot! วางแนวทางการเข้ามาทำตลาดในไทย ภายใต้แนวคิด เกมมิฟายด์ (gamified) เสริมพลังให้กับนักการศึกษา ธุรกิจ และผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตทั่วโลก ด้วยเครื่องมือเอไอ (AI) โดยเปลี่ยนการเรียนรู้ให้เป็นประสบการณ์ที่สนุกสนาน

 

“ด้วยนวัตกรรมแพลตฟอร์ม Kahoot! นี้จะเป็นชื่อที่ทุกคนรู้จักในห้องเรียน การฝึกอบรมองค์กร และการรวมกลุ่มทางสังคม ทำให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ผ่านการเรียนรู้แบบเล่น ซึ่ง หัวใจความสำเร็จของ Kahoot! คือ มุ่งพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง” เมย์รา กล่าวพร้อมเสริมว่า  

 

ในช่วงที่ผ่านมาระบการศึกษามีความกดดัน แต่ยังมีโอกาสในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแพลตฟอร์มKahoot! จะมีเครื่องมือที่ขยายผลได้และครอบคลุม มาสนับสนุนครูผู้สอนได้ดีขึ้น และดึงดูดความสนใจของผู้เรียนกลับคืนมา  พร้อมช่วยปรับปรุงผลการเรียนรู้ เพิ่มการจดจำและแรงจูงใจ รวมถึงลดความวิตกกังวลเพิ่มความสนุกในการเรียนให้กับผู้เรียนละนำไปสู่ผลสำเร็จ

 

เมย์รา กล่าวต่อ ถึงแนวโน้มการศึกษาในยุคเอไอ ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งในตัวผู้สอนและผู้เรียน ต่อการหาจุดกึ่งกลางร่วมกัน พร้อมอ้างอิงจากรานงานระบุถึงการนำแนวคิด เกมมิฟายด์  และเครื่องมือเอไอ ของแต่ละเกมจากครูที่ทำทดสอบขึ้นมาใช้กับนักเรียน เพื่อสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่า การนำเอไอ เพื่อโกงในทางใดทางหนึ่งได้

 

“เราช้ AI เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้วิธีการเรียนรู้อย่างถูกต้องไม่ได้ใช้ AI กระตุ้นคําถามและรับคําตอบอย่างทันที แต่เรากําลังใช้ AI เพื่อจุดประกายความอยากรู้อยากเห็น ให้พวกเขาเริ่มเรียนรู้และใช้สมองเพื่อตนเองและไม่เตรียมคําตอบผ่าน AI” เมย์รา กล่าวย้ำ

 

ด้าน ภญ.ผศ.ดร. กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เสริมถึงตัวอย่างความสำเร็จจากห้องเรียน กรณีศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยประสิทธิภาพของ Kahoot! มานาน 9 ปี และสอดคล้องผลการศึกษาการวิจัยหัวข้อ ‘ผลของการเรียนรู้ผ่านเว็บ Kahoot! ที่มีต่อทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาทางเภสัชศาสตร์’ (เผยแพร่บน ResearchGate) พบว่า Kahoot! ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและผลการเรียนของนักศึกษาในวิชาเภสัชจลนศาสตร์คลินิก (Clinical Pharmacokinetics) ซึ่งพบว่ายังช่วยกระตุ้นความสนใจของนักศึกษา แลพลดภาระงานบริหารของอาจารย์ผู้สอน ทำให้เครื่องมือนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษายุคใหม่

 

ด้าน อาเธอร์รัม อุดดิน รองประธานฝ่ายพาณิชย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Kahoot! กล่าวว่า หลังจากเปิดตัวแพลตฟอร์มฯ ดังกล่าวประจำสิงคโปร์) ในปี 2567 จากนั้นได้เปิดตัว ภาษาไทย ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และพบการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทยทั้ง 3 กลุ่มผู้ใช้ คือ

  1. การศึกษา
  2. ธุรกิจ
  3. ผู้ใช้ทั่วไป

"ด้วยนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลไทย ยังมองเห็นความต้องการเครื่องมือการเรียนรู้ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในแวดวงการศึกษาและภาคธุรกิจ โดย Kahoot! ยังให้บริการฟรีสำหรับครูและนักเรียน เพื่อให้การเรียนรู้เข้าถึงได้ทุกคน” อาเอร์รัม กล่าวพร้อมเสริมว่า "การให้บริการฟรีคือสิ่งแสดงถึงความเชื่อของเรา ต่อการเรียนรู้ควรเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้ และยังเห็นองค์กรต่าง ๆ อัปเกรดไปใช้แผนแบบเสียเงินเพื่อเข้าถึงฟีเจอร์เพิ่มเติม" อาเธอร์รัม

 

โดยแผนงานตลอดปี 2568 Kahoot! วางเป้าหมายขยายตลาดในเอเชียแปซิฟิกต่อเนื่อง ปัจจุบันมีมีสำนักงานใน ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย เพิ่มเติมจากสิงคโปร์ และล่าสุดยังประกาศรองรับ ภาษาเวียดนาม ด้วย โดยตลอดดำเนินการ Kahoot! ที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมแพลตฟอร์มมากกว่า 11,000 ล้านครั้ง (ไม่นับซ้ำ)

 

TAGS: #Kahoot!