‘วิกฤตรถยนต์ไฟฟ้า’ อีกประเด็นน่าห่วงที่แม้ว่าจะฐานผลิตอีวีจีนในไทย แต่อนาคตด้วยชิ้นส่วนรถอีวีมีน้อยกว่ารถสันดาป อาจกระทบถึงผู้ผลิตอะไหล่ในไทยด้วยอาจกระจายไปไม่ถึงรายย่อยเหมือนกับรถสันดาปค่ายญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสข้อความผ่านเพจส่วนตัว เรื่อง ‘วิกฤติรถยนต์ไฟฟ้า’
ผู้ที่ใช้รถยนต์ขับในเมืองเป็นส่วนใหญ่ เมื่อใช้รถไฟฟ้าก็จะชอบ ถ้าสามารถชาร์จไฟข้ามคืนได้ที่บ้าน ค่าใช้จ่ายประจำวันอาจจะเหลือเพียงประมาณหนึ่งในห้าของราคาน้ำมัน
ผู้ขับรถไฟฟ้าจะชอบอัตราเร่งที่รวดเร็ว เสียงเครื่องยนต์เงียบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงช่วงแรกต่ำ
- รัฐบาลมีนโยบายจูงใจให้ผู้ผลิตรถไฟฟ้าจีนมาตั้งโรงงาน ซึ่งเป็นหนทางรักษาดีทรอย์ออฟเอซีย
- แต่ในการทำเวิร์คช็อปต่างจังหวัดเพื่อเก็บข้อมูลมาทำนโยบายรายภาคนั้น ทีมเศรษฐกิจของพรรคพลังประชารัฐ รับฟังว่า อาจกำลังจะมีปัญหาใหญ่
- รถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปจะมีชิ้นส่วนสัก 200 ชิ้น เทียบกับรถยนต์สันดาปซึ่งอาจมี 1,000 ชิ้นขึ้นไป
- ในการใช้งานรถยนต์สันดาปจะมีชิ้นส่วนที่สึกหรอและต้องซ่อมบำรุงตามระยะอยู่ประมาณ 200 ชิ้น เทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าเหลือเพียง 20 ชิ้น
- BOI ของไทยปลื้มที่มีเงินเข้ามาลงทุนโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เกือบ 4 หมื่นล้านบาท และยังมีเงินลงทุนจากผู้ผลิตชิ้นส่วนอีก 1.6 หมื่นล้านบาท
แต่การที่รถไฟฟ้ามีชิ้นส่วนน้อยกว่ารถสันดาปมาก จึงมีผู้ผลิตชิ้นส่วนน้อยราย และแต่ละรายปริมาณการผลิตสูง ทำให้ต้นทุนต่อชิ้นต่ำ
เจ้าของโรงงานผลิตชิ้นส่วนไทย กำลังเจอปัญหาว่า การผลิตชิ้นส่วนของรถไฟฟ้าจีน ไม่กระจายตัวไปสู่โรงงาน SMEs ในไทย มากเท่ากับโรงงานญี่ปุ่น
แนวโน้มต่อไป ปริมาณขยายตัวการผลิตรถสันดาปน่าจะลดลง นั้น โรงงานผลิตชิ้นส่วนไทยซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะปรับตัวกันอย่างไร
เรื่องนี้ท่านนายกเศรษฐาควรเร่งพิจารณาเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเตรียมรับปัญหาแต่เนิ่นๆ