ข้อมูลเบื้องหลัง
- จากเหตุสงครามกลางเมืองในเมียนมาในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง ฝ่ายสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน (PDF) เข้ายึดเมืองเมียวดีไว้ได้ ต่อมา รัฐบาลเมียนมาประสานมายังรัฐบาลไทยโดยทำหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศไทย ขอให้เครื่องบินทหารมาลงจอดที่ท่าอากาศยานอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่ออพยพข้าราชการ ทหารเมียนมา และครอบครัว 617คน ออกจากพื้นที่ของเมืองเมียวดี
- ความพ่ายแพ้ของทหารเมียนมาครั้งนี้ ทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าทหารเมียนมาอาจจะเพลี่ยงพล้ำครั้งใหญ่ เพราะที่นี่คือจุดยุทธศาสตร์สำคัญ อย่างไรก็ตาม เมียวดีเป็นจุดเสี่ยงที่จะเกิดการแย่งชิงระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลังชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่เสมอ และยังง่ายที่จะถูกโจมตีจากฝ่ายกะเหรี่ยง และในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา รัฐกะเหรี่ยงและพื้นที่ใกล้เคียงถูกฝ่ายชาติพันธุ์ในพื้นที่ชิงความได้เปรียบมาโดยตลอด
ทหารเมียนมามาแค่ส่งคนจริงหรือ?
จากการรายงานของสื่อเมียนมา Khit Thit Media มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการส่งเครื่องบินมาอพยพเจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารเมียนมาที่สนามบินแม่สอด ดังนี้
เครื่องบิน ATR 72-600 ของสายการบินแห่งชาติเมียนมา MNA เดินทางถึงสนามบินนานาชาติแม่สอด เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย วันที่ 7 เมษายน มีรายงานจาก Khit Thit Media อ้างแหล่งข่าวทางทหารกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของเมียนมา ว่านอกจากอพยพคนแล้ว ยังมีเงินจากธนาคารเอกชนบางแห่ง รวมถึงธนาคารพาณิชย์เมียนมาในเมืองเมียวดี ถูกบรรจุในกล่องและนำโดยเครื่องบินทหาร TR 72-600 จากสนามบินแม่สอดไปยังสนามบินเมืองย่างกุ้ง
รายงานจาก Khit Thit Media เมื่อคืนวันที่ 7 เมษายน เครื่องบิน ATR 72-600 ที่สภาทหารส่งมาถึงแม่สอดแล้วรอเชลยศึกที่ฝ่าย KNU จะปล่อยตัว แต่รอจนถึงเวลา 01.00 น. อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีใครมา เที่ยวบิน ATR 72-600 ของสายการบิน MNA Myanmar National Airlines จึงกลับถึงย่างกุ้งโดยเครื่องเปล่า
ทั้งนี้ บุคคลที่ควรจะมาขึ้นเครื่อง คือ สมาชิกสภาทหารแห่งรัฐกะเหรี่ยง 617 คนและสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาจากฐานทัพยุทธศาสตร์ทหารติงกันญีหน่องได้มอบตัวต่อกองกำลังร่วม KNU และกองกำลังฝ่ายประชาธิปไไตย PDF ไปแล้ว จากการรายงานโดย The Irrawaddy เมื่อวันที่ 6 เมษายน ผู้เข้ามอบตัวแล้ว 617 คน รวมถึงทหาร 410 นาย ตำรวจหญิง 59 คน และญาติ 81 คน ที่ด่านหน้าด่านติงกันญีหน่อง ในเมืองเมียวดี จากการเปิดเผยของ KNU
รัฐบาลไทยช่วยทหารเมียนมาได้หรือ?
จากการรายงานข่าวของมติชนโดยอ้างแหล่งข่าวในทำเนียบรัฐบาลระบุุว่า "การนำเครื่องบินมาลงในลักษณะดังกล่าว เป็นเรื่องปกติ ระหว่างรัฐบาลสองฝ่ายและเป็นเรื่องของภารกิจฝ่ายพลเรือน ซึ่งมีการดำเนินการมาตลอด"
ในขณะที่ กัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและเป็นเลขาธิการของพรรคเป็นธรรม และประธานมูลนิธิสิทธิเพื่อสันติภาพ กล่าวในเฟซบุ๊คของเขาว่า "ไทยต้องตัดสินใจอย่างระมัดระวังที่จะเปิดสนามบินแม่สอดส่งกลับทหารเมียนมาที่แพ้สงคราม แม้ทำได้ตามหลักกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ แต่อาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงและการอพยพของผู้ลี้ภัยจากเมียวดี เพราะสถานการณ์ที่อ่อนไหวบริเวณชายแดน"
กัณวีร์ ตอบคำามว่า "ไทยไปช่วยทำไม และทำได้เหรอ ??" โดยชี้แจงว่า "เอาตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศด้านมนุษยธรรม ทำได้ครับ ทั้งการถูกมอบอำนาจโดย “ฝ่ายที่ชนะ“ และการเป็น ”ประเทศที่เป็นกลาง“ ในการดูแลและการส่งกลับเชลยศึก กฎหมายนี้จะใช้เฉพาะเมื่อสงครามเกิดทั้งสงครามระหว่างประเทศ (international armed conflicts) และสงครามที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ (Non-international armed conflicts) เพียงเท่านั้น หากไทยถูกร้องขอให้ช่วยในฐานะประเทศที่เป็นกลาง (neutral country) เราก็ควรทำให้เป็นไปตามเจตจำนงค์และเจตารมย์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศฉบับนี้เสีย"
สถานการณ์ในเมียวดีเป็นอย่างไร?
จากการายงานของ BBC ภาคภาษาพม่า รายงานว่า ผู้อยู่อาศัยในรัฐกะเหรี่ยงกล่าวว่าหลังจากที่ KNU และ PDF ยึดกองพันทหารราบที่ 357 รวมทั้งเนินเขายุทธศาสตร์ทางทหารในเมืองติงกันญีหน่อง ใกล้เมืองเมียวตี เมื่อวันที่ 6 เมษายน หลังจากนั้นคนท้องที่ไม่พบทหารเมียนมาในเมืองเมียวดีอีกต่อไป
“เมื่อก่อนเห็นทหารไปทำงานจากในเมืองไปทำงานกลับรถมาทำงาน ตอนนี้ไม่เห็นแล้ว ตลาดเปิดตามปกติ ผมอยู่ในเมือง เดินทางได้ปกติ ไม่ได้ยินเสียงโครมคราม ผมไม่ได้ยินเสียงปืนอีกต่อไป” ชาวเมืองเมียวดีกล่าว
วันที่ 6 เมษายน ขณะมีการสู้รบดุเดือดชาวเมืองได้ยินเสียงอาวุธดังลั่น แต่ชาวบ้านยังบอกด้วยว่าแทบไม่ได้ยินเสียงปืนในวันที่ 7 เมษายน
Photo - Khit Thit Media