เปิดตำรา "ประตูเงินประตูทองงานแต่ง ต้องมีกี่ด่านกันแน่?" ป้องกันเจ้าบ่าวไม่ทนจนต้องหนี

เปิดตำรา
หลังเกิดกรณีเจ้าบ่าวไม่ทนหอบสินสอนหนีถูกกั้น 13 ด่าน

เบื้องหลังของเหตุการณ์

  • เหตุเกิดมาจากกระทู้พันทิปกระทู้หนึ่ง ซึ่งเล่าประสบการณ์งานแต่งงานที่จบลงด้วยความแตกแยก ไม่เฉพาะกับเจ้าของงานแต่งเท่านั้น แต่ทำให้สังคมถกเถียงอย่างหนักว่า "ตกลงแล้ว ประตูเงินประตูทองควรจะมีกี่ด่านกันแน่?"
  • กระทู้ต้นเหตุมีเนื้อดังนี้ "เมื่อวานพี่สาวแต่งงานค่ะ แต่มีปัญหาเกิดขึ้นคือ..ช่วงที่เจ้าบ่าวมาบ้าน เจ้าสาว ได้มีการกั้นประตูเงินประตูทอง หลายด่านมากซึ่งมีเพื่อนๆเจ้า สาว พี่ๆน้องๆ เดินมาประมานสัก5ด่าน เจ้าบ่าวพูดว่า ถ้ามึงจะมายืนดัก กันขนาดนี้ กูไม่แต่งแล้วโว้ย...เพราะตอนนั้นฝนตก และทุกคนเริ่มเปียก ในเต็นคนเยอะจนล้น จากนั้นเจ้าบ่าวคว้ากล่องสินสอนและถุงใส่เงิน บอก ว่า กุไม่แต่งแล้วโว้ย ตอนนี้พี่สาวเราทั้งเสียใจ และขายหน้ามาก บอกให้ ทางเจ้าบ่าวมาเคลีย แต่เจ้าบ่าวเงียบ มีแต่พ่อแม่เจ้าบ่าวที่ออกมาขอโทษ เราบอกให้พี่สาวแจ้งความ พี่บอกว่า ทำไม่ได้ กลัวจะเสียเจ้าบ่าวไป ทั้งที่ ตอนนี้ เจ้าบ่าวไม่รู้หายไปไหนแล้ว" (คงการสะกดคำตามต้นฉบับ) 
  • เรื่องนี้ทำให้เป็นที่ถกเถียงในวงกว้างของสังคมไทย และเป็นข่าวที่ได้รับความสนใจอ่างมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ จึงมีทั้งส่วนที่เห็นใจเจ้าบ่าว และฝ่ายทีสงสารเจ้าสาว แต่ก็ติงว่าการกั้นด่านมาเกินไปหรือเปล่า ดังนั้นเราจะมาคำตอบกันว่า "ประตูเงินประตูทองในงานแต่งควรมีกี่ด่านกันแน่?" 

ในหนังสือเรื่อง "ประเพณี เรื่องแรงงานบ่าวสาวของไทย" ที่พิมพ์เมื่อปี พ.ศ.  2501 ของ เสฐียรโกเศศ นามปากกาของ ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน ซึ่งเป็นปราชญ์ด้านความรู้เรื่องไทย ท่านได้บันทึกและอธิบายประเพณีการแต่งงานของไทยพร้อมกับเทียบกับประเพณีของชนชาติอื่นๆ อย่างละเอียด ในส่วนของ "การตั้งด่าน" ท่านเขียนไว้ในบทที่ 9 เรื่อง "ปิดประตูขันหมาก" ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างมาก 

แต่ในส่วนของการตั้งด่านกั้นเจ้าบ่าว เสฐียรโกเศศได้เขียนไว้ว่า

"เรื่องปิดประตูอย่างในตำรา ก็มี 3 ประตูเท่านั้น ปิดเพียงเป็นพิธี และคนในบ้านเป็นผู้ปิดเท่านั้น" 

ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปว่า ประตูหรือด่านสำหรับกั้นขบวนขันหมาก ตามประเพณีแล้วมีแค่ 3 ประตูเท่านั้น และจะให้คนในบ้านเจ้าสาวเป็นตั้งด่านเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เสฐียรโกเศศได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า 

"แต่ที่เคยเห็นปิดกันมีมากประตู ตอนที่เป็นประตูแรก ยายแก่ ยายเฒ่าลูกเด็กเล็กแดงก็พากันมาปิดเอาสตางค์ด้วย ชั้นเดิมเมื่อความหมายของเรื่องกั้นประตูกลายแล้ว เห็นจะปล่อยให้คนในบ้านพวกเดียวกันเป็นผู้ปิดเพื่อสนุกในเชิง และให้ได้เงินบ้างเท่านั้น แล้วการปิดประตูเจริญขึ้น ลามปามไปถึงคนนอกบ้านพากัน มาปิดเพื่ออยากได้ของแถมพกคือสตางค์"

นั่นหมายความว่า ตั้งแต่ในสมัยของเสฐียรโกเศศและสมัยที่พิมพ์หนังสือเล่มนี้แล้ว (คือปี พ.ศ.  2501 ) ก็เริ่มมีการกั้นด่านขันหมากที่มากเกิกว่าประเพณีกำหนดเอาไว้ และยังมีคนนอกบ้านเข้าสาวเข้ามา "สนุก" ด้วย เพื่อหาเงินจากเจ้าบ่าว 

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การหลงลืมทางวัฒนธรรม เพราะการกั้นประตูนี้มีธรรมเนียมในการที่ผู้เฒ่าผู้แก่กั้นไว้ถามฝ่ายเจ้าบ่าว เสฐียรโกเศศ กล่าวด้วยความรู้สึกเสียดายในการสูญสียประเพณีดั้งเดิมไว้ว่า 

"เมื่อการเป็นเช่นนี้ เรื่องถามชื่อประตูจากผู้กั้น และผู้กันถามเฒ่าแก่ว่าทางไหน ก็ใช้ไม่ได้ จริงอยู่ถ้าจะถือตามตำรา ถามชื่อ ประตูจากผู้กั้น ก็คงจะตอบกันได้บ้าง เพราะคำว่า ประตูเงินประตูทอง ติดปาก รู้จักกันมาก แต่เดี๋ยวนี้เห็นจะรู้น้อยเข้า ถ้าจะต้องถามกันทุกประตู เมื่อมีกันมากก็แย่ เฒ่าแก่ลางคน (คือข้าพเจ้าเอง) จึงถามประตูแรกประตูเดียวพอเป็นพิธี ตอบถูก หรือผิดไม่ว่า ขอแต่ให้ได้ผ่านพ้นเข้าไปโดยสะดวกก็แล้วกัน เป็นรู้แล้วรู้รอดกันไปที" 

เสฐียรโกเศศ ยังชี้ว่าการกั้นประตูหรือตั้งด่านของบางคนเห้นแก่เงินจนเกินไป ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น และที่สำคัญคือไไม่ใช่ประเพณีที่มีมาก่อน 

"ลาง (ลางเป็นคำยุคเก่า ปัจจุบันใช้คำว่า บาง เช่น บางที บางคน) ที่ให้เงินแก่ผู้กันแล้วผู้กั้นไม่พอใจเห็นว่าน้อย ไม่ยอมเปิดให้ ดูเป็นทีว่าตนมีสิทธิ ที่จะทำเช่นนั้นได้โดยประเพณี ที่แท้ก็ไม่มี เป็นเรื่องบานปลายขึ้นทีหลัง ต้องโต้เถียง กันกว่าจะตกลงได้ก็ถูกคนรุมดูแน่น ยิ่งกว่านั้น ลางทีพวกต่างชาติที่เขาไม่รู้ประเพณี ของเรา เห็นใคร ๆ พากันมากั้นประตูและได้สตางค์ด้วย สนุกเต็มที่ไม่มีลำบากอะไร ก็พากันมากันทั้งเจ็กทั้งแขก ถ้าหนทางที่จะไปบ้านเจ้าสาวเป็นทางที่ต้องเดินไปหรือใช้เรือหรือรถเข้าไม่ถึง เช่นถนนหรือตรอกในสำเพ็งเป็นต้น พอรู้ว่าจะมีขันหมาก ก็แห่กันมาคอยกันปิดประตูตั้งแต่ต้นระยะทางกว่าจะถึงบ้านเจ้าสาวก็อีกไกล ลางที กั้นแล้วได้ของแถมทุกคือสตางค์ไปแล้ว ก็ไปกันข้างหน้าอีก ครั้นไม่ยอมให้ก็ขัดขวางทำท่าต่าง ๆ ยายแก่คนหนึ่งกันแล้วก็ไปกันอีก ไม่ยอมให้ก็กอดรัดหัวเฒ่าแก่ ไม่ยอมให้ไปจนเสื้อแสงเฒ่าแก่คือข้าพเจ้าเองเปื้อนหมด เพราะแกไม่ปฏิบัติตามวัฒนธรรมห่มแต่ผ้าไม่ได้สวมเสื้อ" 

นี่คือประสบการณ์ส่วนตัวของเสฐียรโกเศศ ซึ่งเป็นถึงระดับพระยาและเป็น "เฒ่าแก่"  (หรือปัจจุบันเขียนว่า "เถ้าแก่" คือผู็ใหญ่ของฝ่ายเจ้าบ่าวเจ้าสาว) แต่ก็ยังถูกคนเข้ามากอดรัดถึงตัวจนเสื้อผ้าเเปื้อนไปหมด เพราะอีกฝ่ายไม่สวมเสื้อ หรือในสมัยนั้นเรียกว่า "การไม่ปฏิบัติตามวัฒนธรรม" ที่บัญญัติโดยรัฐบาลให้ประชาชนต้องสวมเสื้อผ้าให้เรียบร้อย

เสฐียรโกเศศ ถึงกับบอกว่าบางครั้งคนจะแต่งงานตัวจริงต้องหาฤกษ์ใหท่กันเลยทีเดียว เพื่อหลี "พวกโหนกระแส" มาต้งด่านตามใจชอบ และท่านยังเล่าถึงความบานปลายไร้ขอบเขตของการตั้งด่าน "ไถเงิน" โดยคนนอกที่ไม่เกี่ยวกับเจ้าบ่าวเจ้าสาวเอาไว้ว่าถึง

"บางรายเขาหลีกหาฤกษ์ไปใหม่ คือรวบวัดจัดไป แต่เวลาเช่ามืด (นี่ก็ข้าพเจ้าอีก) แต่กระนั้นก็ยังมีผู้มาคอยกั้นอยู่มากคนแล้ว เคราะห์ ดีที่หย่อยกันไปไม่เป็นกระบวนจึงไม่ถูกกัน แต่ที่ทำลุ่น ๆ อย่างนี้ได้ ต้องทางฝ่ายเจ้าสาวยินยอมเห็นพ้องด้วย บางคราวขันหมากไปทางเรือถูกกันขวางคลองคล้ายกับต้องแวะด่านก็มี ต้องให้ของแถมพกกันมาก ๆ ซึ่งมีคนลอยเรือชุ่มคอยรับอยู่แล้ว จึงจะปล่อยให้ผ่านเข้าไปได้ ถ้าไม่ยอมให้อาจเกิดเรื่องไม่งามเกิดขึ้นก็ได้ เช่นเขียนเป็นหนังสือใช้ถ้อยคำอย่างหยาบคายผูกเชือกแขวนขวางคลองไว้ก็เคยเห็น คงเป็นถิ่นนักเลงโดหรือยืนคนพาลเป็นแน่ มีอยู่คราวหนึ่งต้องจุดประทัดใส่ปลายไม้ ออกหน้ากระบวนขันหมากจึงผ่านไปได้ ที่กั้นประตูเล่นเป็นสนุกอย่างกันเองก็มี คือ ทางฝ่ายเจ้าบ่าวจัดของแถมพกทำเป็นห่อ เมื่อได้รับห่อโตแท้ออกมีของเล็กนิดเดียว ส่วนผู้ปิดประตูก็ไม่ยอมเปิดให้ง่าย ๆ และมีเจรจาโด้ตอบกันนาน ๆ เรื่องที่พรรณนานี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ประสบมาเองแทบทั้งหมด และข้าพเจ้าเข้าใจว่าผู้ที่เคยเป็นเจ้าบ่าว ในเรื่องที่เล่ามานี้ก็มีอยู่มากราย เมื่อได้อ่านเรื่องตอนนี้ คงจะจำเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ดี"

ท่านยังตักเตือนถึงการกั้นด่านที่ไร้ขอบเขตเอาไว้ว่า  

"ข้าพเจ้าเคยทำหน้าที่ให้แก่เขา แล้วต่อมาต้องทำหน้าที่นี้ซ้ำให้แก่บุตรชายของเขา จนถึง พ.ศ. 2500 ก็มีห้ารายแล้ว ที่ได้ตอบกันอย่างเต็มยศ ดังข้อความที่จะกล่าวต่อไปยังไม่เคยประสบเห็น ทุกวันนี้การกันประตูขันหมากอย่างที่เล่าเห็นจะไม่มีแล้ว แต่ก็ไว้ใจไม่ได้ เพราะเป็นประเพณีต้องมีขึ้น แต่ก็ควรกั้นกันในบริเวณบ้านเท่านั้น พอเป็นพิธีมีสนุกสนานกันบ้าง แต่การกั้นนี้ ทั้งสองฝ่ายมักจะได้ตกลงกันก่อน เพื่อทางเจ้าบ่าวจะได้จะเงินพกไปให้ถูกหรือเพียง แต่ลางรายลำคาญไม่ได้มีชั้นประตูก็มี ที่ต้องการให้มีกั้นประตูก็มี โดยกล่าวว่าเรื่องมีครั้งเดียวในชีวิตของเจ้าบ่าว ควรให้มีสนุกเป็นตำน้ำพริกละลายน้ำได้เล่นบ้าง" 

Photo Ben Stephenson - FlickrDSC_6781 copy (CC BY 2.0)