มันคือ "Bad idea" สื่อสิงคโปกับบทความ ที่บอกว่า land bridge ของไทยมันเป็นไอเดียแย่ๆ
ในบรรดาประเทศที่ถูกจับตาเพื่อดูปฏิกิริยามากที่สุดหลังจากที่ไทยประกาศเดินหน้าโครงการ land bridge ก็คือ สิงคโปร์
เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศแรกๆ ที่จะเสียผลประโยชน์หากไทยมีเส้นทางเชื่อมต่อมหาสมุทรสองฝั่งเป็นของตัวเอง หลังจากที่สิงคโปร์ผูกขาดการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ของเส้นทางนี้มาหลายร้อยปี
ดังนั้น เวลาสิงคโปร์เอ่ยถึง land bridge ของไทยเมื่อใด ไทยจะต้องรับฟังเอาไว้ว่า "เขาคิดอย่างไร"
สำนักข่าว CNA หรือ Channel NewsAsia สื่อของสิงคโปร์ที่มีเจ้าของคือ Mediacorp ซึ่ง Mediacorp มีเจ้าของอีกทอดหนึ่งคือ Temasek Holdings อันเป็นบริษัทลงทุนของสิงคโปร์ ดังนั้นสื่อรายนี้จึงถือเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลสิงคโปร์
เป็นของรัฐบาลสิงคโปร์จึงต้องรักษาผลประโยชน์ของสิงคโปร์
เมื่อเร็วๆ นี้ CNA เผยแพร่บทความของ เอียน สตอรีย์ (Ian Storey) นักวิชาการอาวุโสของสถาบัน ISEAS – Yusof Ishak Institute
สถาบันนี้เป็นสถาบันวิจัยและคณะกรรมการตามกฎหมายภายใต้ขอบเขตของกระทรวงศึกษาธิการในประเทศสิงคโปร์ หนึ่งในเป้าหมายหลักของสถาบันนี้คือ เพื่อศึกษาแนวโน้มและการพัฒนาทางสังคมการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิยุทธศาสตร์ศาสตร์และเศรษฐกิจในวงกว้าง
พูดสั้นๆ ก็คือเป็นสถาบันในทางยุทธศาสตร์ของสิงคโปร์ เพื่อศึกษาความเป็นไปของเพื่อนบ้านนั่นเอง
บทความของ เอียน สตอรีย์ มีชื่อที่อ่านเข้าใจยากว่า "Thailand’s Kra land bridge - a white elephant comes charging back"
คำว่า Thailand’s Kra land bridge หมายถึงโครงการสะพานเชื่อต่อตรงคอคอดกระ อันนี้เข้าใจได้ไม่ยาก
แต่คำว่า white elephant เป็นสำนวนที่ยากสำหน่อย หมายความว่า เป็นภาระหนักอึ้งแต่ไร้ประโยชน์หรือก่อให้เกิดปัญหามากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มาแล้วต้องเสียแรงดูแลรักษา และยังกำจัดทิ้งไม่ได้
มีเกร็ดที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนวนภาษาอังกฤษสำนวนนี้ คำว่า white elephant มันหมายถึง "ช้างเผือก" ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย
ฝรั่งสมัยก่อนเมื่อมาถึงประเทศใสยาม เห็นว่าคนสยามยกย่องชางเผือกกันมากว่าเป็นสตัว์มีค่าควรเมือง แต่มันดูแลรักษาลำบาก ก็เลยเอามาใช้เป็นสำนวนว่า ได้ช้างเผือกมาเท่ากับเอาภาระมาแบกไว้ ตัวเองจะวอดวายเอาเปล่าๆ
ฝรั่งบางคนถึงกับแต่งตำนานขึ้นมาสนุกๆ ว่า กษัตริย์สยามเป็นเจ้าเล่ห์ เคยมอบช้างเผือกให้กับใครก็ตามที่พระองค์ไม่พอพระทัย หรือหมดความโปรดปรานแล้ว คนๆ นั้นจะได้แบกรับภาระเลี้ยงดูช้างเผือกจนสิ้นเนื้อประดาตัว - นี่คือการทำลายศัตรูแบบเนียนๆ นั่นเอง
white elephant จึงมีความหมายในด้านลบแบบนี้
พูดง่ายๆ ก็คือแค่จั่วหัวมาบทความนี้ก็บอกแล้วโครงการสะพานเชื่อมต่อของไทยมันเป็นอะไรที่ไร้ประโชน์ สร้างภาระ และเป็นตัวปัญหา ใครเป็นเจ้าของจะวอดวายเอาเปล่าๆ
เหมือนอย่างที่เจ้าของบทความบอกคำต่อมาว่า มันจะมี "charging back" ติดตามมา ซึ่งหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ถูกเรียกเก็บในภายหลังทั้งๆ ใบเสร็จก็ออกมาแล้วและเจ้าตัวจ่ายเงิยตามบิลไปแล้ว
ในแง่นี้จึงหมายความว่า โครงการของไทยจะมีต้นทุนหรือ "ค่าใช้จ่าย" ติดตามมาให้ชำระกันไม่หยุดหย่อน เหมือนกับการเลี้ยงช้างเผือกที่เสียเงินดูแลไม่มีที่สิ้นสุด
ดูแล้วโครงการนี้ไม่มีดีเลยในสายตาเจ้าของบทความ เพราะเขาบอกตั้งแต่บรรทัดแรกว่า "ไอเดียแย่ๆ (Bad ideas) สามารถคงทนถาวรได้อย่างน่าประหลาดใจ ในประเทศไทย นี่เป็นกรณีของชนชั้นปกครอง (ruling elite) ที่หลงใหลในการสร้างเส้นทางคมนาคมข้ามคอคอดกระมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ"
เราสามารถพูดถึงโครงการ land bridge ได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ แต่การเริ่มคำแรกก็บอกเลยว่ามันเป็น "ไอเดียแย่ๆ" สะท้อนอคติอะไรบางอย่างของผู้เขียน และรวมถึงสื่อที่หยิบบทความนี้มารายงานทั้งดุ้นด้วย
มันฟังแล้วดูเหมือนเป็นการด้อยค่า "ชนชั้นปกครอง" ของไทยว่า "หลงใหล" (ซึ่งบอกเป็นนัยๆ ว่าหมกมุ่นนั่นเอง" กับแนวคิดตัดเส้นทางผ่าคอคอดกระ
มันเป็นไอเดียที่ไม่เหมาะได้หลายกเหตุผล แต่ไม่น่าจะถึงบอกว่าเป็น Bad ideas และเป็นความหมกมุ่นของผู้นำของไทย ยกเว้นว่าคนที่เขียนบทความจะเอนเอียนไปทางสิงคโปร์
สิงคโปร์เคยเประเมินมาตลอดว่าถ้าไทยขตัดเส้นทางอะไรสักอย่างผ่านคอคอดกระ จะมีผลกระทบต่อสิงคโปร์แค่ไหน? จากที่เขาประเมินไว้ บอกว่าไม่กระทบมากนัก เพราะรูปแบบของเศรษฐกิจสิงคโปร์เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ได้พึ่งท่าเรือมากเหมือนแต่ก่อน
แต่จากที่สังเกต รู้สึกว่าสิงคโปร์จะร้อนรนขึ้นเมื่อไทยทำท่าจะทำอะไรกับคอดคอดกระอีกครั้ง
แต่บทความนี้ก็มีเหตุผลของเขาที่บอกว่า land bridge เป็น Bad ideas
อย่างแรกคือเขาไม่เชื่อว่า การทำเส้นทางเชื่อมต่อจะคุ้มเวลา เพราะต้องเสียเวลาถ่ายตู้สินค้าจากท่าเรือหนึ่งแล้วขับรถข้ามไปอีกท่าเหรือหนึ่ง รวมๆ แล้วเวลามันสั้นกว่าเสียที่ไหน
เขาอ้างการประเมินของ สวีฟางต๋า (Chee Hong Tat) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของสิงคโปร์ที่บอกว่าค่าขนส่งจากการขนย้ายแบบดับเบิลจะเพิ่มขึ้นแน่นอน
แต่เดี๋ยวก่อน สวีฟางต๋า ก็เหมือนแบ่งรับแบ่งสู้ เพราะบอกว่าสิงคโปร์จะปรับปรุงการเชื่อมต่อและประสิทธิผลของท่าเรือ นั่นหมายความแม้ว่าจะประเมินว่า land bridge จะต้นทุนการขนส่งเพิ่ม แต่สิงคโปร์ยังกลัวอะไรบางอย่างถึงได้อยู่เฉยไม่ได้
เพราะถ้าต้นทุนของ land bridge สูงจริง จนประเมินแล้วว่าไม่คุ้นทุน สิงคโปร์อยู่เฉยๆ แล้วรอให้โครงการมันล่มก็ได้นี่ ไม่เห็นต้องเสียเงินเสียทองพัฒนาท่าเรือตัวเอง
อีกเหตุผลที่ผู้เขียนบทความยกมาคือ กลัวว่ามันจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวของไทย อันนี้พูดเหมือน NGO แถวๆ บ้านเราเปี๊ยบ
แต่เหตุผลสุดท้ายค่อยน่าฟังหน่อย เพราเขาเตือนว่า land bridge ของไทยอาจเป็นจุดแย่งชิงอำนาจด้านภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐฯและจีน
อันนี้ไทยต้องระวังไว้ เพราะมันมีส่วนจริงอยู่ แต่ไม่ใช่ว่ากลัวจนไม่กล้าทำอะไร เพราะถ้ากลัวเรื่องนี้ สิงคโปร์ก็ต้องกลัวด้วยเหมือนกัน แต่นี่สิงคโปร์ไม่ได้กังวลอะไรมากนักกับการที่ตัวเองคุมเส้นทางคมนาคมของโลก แต่กลับมากังวลแทนไทยเสียอย่างนั้น
มันทะแม่งๆ อยู่นา
สรุปแล้ว มันมีเหตุผลที่ต้องกังวลเรื่อง land bridge แต่มันไม่ถึงกับเป็น Bad ideas
ไปๆ มาๆ บทความนี้ก็ไม่ได้บอกว่ามันเป็นไอเดียที่เลวร้ายอย่างไร แค่บอกว่ามันน่ากังวลอย่างไรเท่านั้น เอาเข้าจริงมันสะท้อนความกังวลของสิงคโปร์ด้วยซ้ำไป
ดังนั้นบทความนี้จากสิงคโปร์จึงพยายามบอกว่ามันไม่ดีอย่างนั้นไม่ดีอย่างนี้ ต่างจากท่าทีของเพื่อนบ้านอีกราย คือ มาเลเซียที่หวังจะร่วมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ร่วมกับไทย
บทความมันเอียงขนาดใช้คำว่า white elephant ซึ่งฝรั่งมองว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตวุ่นายจนล้มละลายเอาง่ายๆ
แต่คงจะลืมไปว่า สำหรับคนไทยแล้ว white elephant เป็นสัตว์อันเป็นมงคลยิ่ง
บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการ แบะบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better