สีกากอล์ฟเขย่าคณะสงฆ์! ยกเลิกสมณศักดิ์ 81 ตำแหน่ง พระราชาคณะชั้นเทพสึก 6 รูป

สีกากอล์ฟเขย่าคณะสงฆ์! ยกเลิกสมณศักดิ์ 81 ตำแหน่ง พระราชาคณะชั้นเทพสึก 6 รูป
สีกากอล์ฟพ่นพิษแรง ทำให้พระราชาคณะทั้งประเทศ  เหลือ 989 รูป  ส่วนพระเถระ 81 รูป ที่มีประกาศสถาปนาและเลื่อนสมณศักดิ์ 28 กรกฎาคม 2568 ถูกยกเลิกไปด้วย

ในจำนวนพระราชาคณะทั้งหมดนั้นพระราชาคณะชั้นเทพ ถูกสีกากอล์ฟกินไปถึง 6 รูป ทำให้พระราชาคณะชั้นเทพทั้งมหานิกายและธรรมยุตเหลือ 91 รูป แยกเป็นมหานิกายเหลือ 60 รูป จาก 64 รูป สึกไป 4 รูป คณะธรรมยุต เหลือ 31 รูป จาก 33 รูป สึกไป 2 รูป

ส่วนจำนวนพระราชาคณะทุกระดับชั้นของทั้ง 2 นิกายมีรวมกันประมาณ 989 รูป ลดลงเพราะสีกากอล์ฟพ่นพิษครอบจักรวาล
 
เมื่อมีเหตุดังกล่าว  ผมจึงขอเล่าประวัติความเป็นมา ของสมณศักดิ์ หรือพระราชาคณะ ว่าเริ่มในประเทศไทยเมื่อไร

 ตามข้อมูลที่ได้มาสมณศักดิ์นั้น เริ่มมีในแผ่นดินนี้ตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท)  แห่งกรุงสุโขทัย โดยพระจากลังกา (ศรีลังกา)ที่ราชสำนักสุโขทัยนิมนต์มาอยเพื่อวางรากฐานพุทธศาสนาเถรวาท ในกรุงสุโขทัย ท่านได้นำการตั้งสมณศักดิ์เข้าสู่ราชสำนักในขณะเดียวกันด้วย  เนื่องจากลังกา (ศรีลังกา) มีธรรมเนียมการตั้งสมณศักดิ์มาก่อนแล้ว  สมณศักดิ์ ที่อ้างอิงได้เช่นพระสังฆราชา และปู่ครูเป็นต้น

ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ สมณศักดิ์ได้รับการสานต่อ โดยจำนวนและราชทินนามเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของพระเถระที่มากขึ้น ส่วนราชทินนามนอกจากเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะพบราชทินนาม ว่าสมเด็จอริยวงศญาณ สมเด็จพระพนรัตน์ พระพิมลธรรม พระธรรมโคดม พระธรรไตรโลก พระธรรมเจดีย์ เป็นต้น

ในสมัยกรุงธนบุรีก็มีสมณศักดิ์ตามแบบกรุงศรีอยุธยา เช่นการตั้งสมเด็จพระสังฆราชและราชาคณะต่างๆ เป็นต้น

สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1ทรงรักษาธรรมเนียมเดิมไว้ ทรงออกกฎพระสงฆ์ 10 ฉบับและทรงแก้ไขให้เป็นธรรมเช่นพระราชทานสมณศักดิ์คืนแก่พระเถระที่ปฏิบัติดี ยึดมั่นในพระวินัย ให้อยู่ในตำแหน่ง และสมณศักดิ์เดิม เช่นสมเด็จพระสังฆราช (สี)ถูกปลดเพราะไม่ถวายบังคมสมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ทรงสำคัญพระองค์ผิดคิดว่าเป็นพระโสดาบัน 

นอกจากนั้นทรงตั้งพระธรรมธีรราชมหามุนี (ชื่น) วัดหงส์เป็นว่าที่พระพนรัตน์ เป็นเจ้าคณะใหญ่ คณะใต้แต่ถูกลดยศเป็นพระธรรมไตรโลก ตั้งพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค)วัดระฆังเป็นเจ้าคณะใหญ่ คณะเหนือ ตั้งพระพิมลธรรม วัดพระเชตุพนเป็นสมเด็จพระพนรัตน์ เจ้าคณะรองคณะเหนือ เป็นต้น

 เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์เช่นตั้งคณะพระธรรมยุตขึ้นอีกนิกายหนึ่ง (ธรรมยุตเกิดในขณะที่ร.4 ทรงผนวชและจำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส)  ทรงแก้ไขราชทินนามมิให้สอดคล้องกับพระนามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นพระธรรมโคดม แก้เป็นพระธรรมอุดมเป็นต้น และในรัชกาลนี้ ตั้งสมณศักดิ์ สาสนโสภณ ขึ้นใหม่เพื่อถวายพระมหาสา ปุสสเทโว ปธ.9 เป็นสมณศักดิ์เฉพาะคณะพระธรรมยุต แรกทีเดียวเป็นแค่ชั้นสามัญ ต่อมาได้ปรับอิสริยศให้สูงถึงชั้นรองสมเด็จ และพระมหาสา ก็ได้เลื่อนสูงขึ้นตามลำดับจนได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 9 ในสมัยรัชกาลที่ 5   พระเถระธรรมยุตดำรงตำแหน่งพระสาสนโสภณ (บางสมัยใช้โศภณ)  ถึง 13 รูป ในจำนวนนั้นได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 รูป คือ สมเด็จ(สา) สมเด็จ (จวน) สมเด็จ(เจริญ)และสมเด็จ(อัมพร)

ถึงรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้จัดลำดับชั้นสมณศักดิ์ให้เหมาะสมตามลำดับชั้น

ต่อไปนีัเป็นลำดับชั้นและทจำนวนสมณศักดิ์ที่พระราชทาน(ในปัจจุบัน)ดังนี้
1สมเด็จพระสังฆราช มี 1ตำแหน่ง
2 สมเด็จพระราคณะทั้ง 2 นิกายมี 8 ตำแหน่ง
3 พระราชาคณะเจ้าคณะรองทั้ง 2 นิกาย มี 39 ตำแหน่ง
4 พระราชาคณะชั้นธรรมทั้ง 2 นิกาย มี 53 ตำแหน่ง(จาก 54 เมื่อเจ้าคุณแย้มสึกไป)
5 พระราชาคณะชั้นเทพ ทั้ง 2 นิกาย เหลือ 91 ตำแหน่ง (จาก 97 แต่สึกเพราะสีกากอล์ฟไป 6 )
6 พระราชาคณะชั้นราช ทั้ง 2 นิกาย มี 235 (จาก 236 สึกไป 1)
7 พระราชาคณะชั้นสามัญทั้ง 2 นิกาย มีทั้งหมด 560 (จากเดิม 561สึกไป 1)
รวมสมณศักดิ์ทั้ง 2 นิกายเหลือม989 รูป
 (รวบรวมจากทำเนียบสมณศักดิ์2567 และผู้เขียนปรับปรุงวันที่ 17  กรกฎาคม 2568)

จะเห็นว่าตัวเลขสมณศักดิ์ลดลง และที่จะสถาปนาและเลื่อนใหม่ วันที่ 28 กรกฎาคม 2568 ถูกยกเลิก ตามที่ราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2568 ประกาศว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ยกเลิกประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ที่กำหนดวันที่ 28 กรกฎาคม 2568  ทำให้พระเถระ 81รูปที่จะมีสมณศักดิ์ใหม่ต้องอยู่ตำแหน่งเดิม ส่งผลให้ตัวเลขโดยรวมไม่เพิ่มขึ้นจึงเห็นพิษสีกากอล์ฟร้ายแรงมากนอกจากทำลายพระสงฆ์แล้ว ยังทำให้พิธีหลวงในการสถาปนาและเลื่อนสมณศักดิ์ ต้องยกเลิกไปด้วย
(ยังมีต่อครับ) 

โดย สมาน สุดโต

TAGS: #สีกากอล์ฟ #พระราชาคณะ #พระเถระ #สถาปนา #เลื่อนสมณศักดิ์