“Now I become death, the destroyer of world” จากคัมภีร์ภควัตคีตา ‘บทเพลงแห่งพระเจ้า’ บทสนทนาโต้ตอบระหว่าง อรชุน เจ้าชายแห่งจันทรวงศ์ กับ พระกฤษณะ เมื่อเราต้องกลายเป็นคนกำหนดชะตากรรมคนอื่น
“Now I become death, the destroyer of world” หรือ “ในเวลานี้ ตัวข้าคือความตาย ผู้ทำลายโลกใบนี้” ประโยคดังจากนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้เป็นบิดาแห่งระเบิดปรมาณู และเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการสร้างระเบิดปรมาณูเพื่อยุติสงครามในโครงการแมนแฮตตันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 "เจ. โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์"
โดยประโยคนี้เกิดขึ้นหลังการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 1945 ในรัฐนิวเม็กซิโก โดยออปเพนไฮเมอร์ได้กล่าวว่า “Now I am become Death, the destroyer of worlds.”
ที่มาของประโยคดังมาจาก คัมภีร์ ภควัทคีตา แปลว่า ‘บทเพลงแห่งพระเจ้า’ เป็น บทสนทนาโต้ตอบระหว่าง อรชุน เจ้าชายแห่งจันทรวงศ์ กับ พระกฤษณะ ที่อาสามาเป็นสารถีขี่ม้า ให้อรชุนนในสงครามทุ่งกุรเกษตร ที่ทำชาวฮินดูโต้แย้ง เนื่องจากบทพูดดังกล่าวไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง หรือสื่อความหมายอย่างที่ออปเพนไฮเมอร์กล่าว
บทสนทนาโต้ตอบระหว่าง อรชุน เจ้าชายแห่งจันทรวงศ์ กับ พระกฤษณะ เกิดขึ้นในสงครามทุ่งกุรเกษตร โดยพระกฤษณะอาสาเป็นสารถีให้กับอรชุน เมื่ออรชุนไม่อยากสู้รบในสงครามที่ต้องฆ่าญาติพี่น้องของตัวเอง พระกฤษณะโน้มนาวให้อรชุนจับอาวุธเพื่อต่อสู้ด้วยการแสดงหลักธรรมที่มีชื่อว่า
“ NISH KAMA KARMA ”
निष्काम कर्म (นิษฺกาม กรรฺม) = การกระทำที่ปราศจากความต้องการแห่งตน เพื่อสอนว่า “จงทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดโดยปราศจากตัวตน ไม่ไปยึดติดกับผลลัพท์ของการกระทำนั้น”
หลังจากนั้น พระกฤษณะก็เผยร่าง ‘วิศวรูป’ (ปางนารายณ์เปิดโลก) เพื่อให้อรชุน ได้มองเห็นความจริงของ โลก จักรวาล และ ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ว่าทุกอย่างล้วนมาจากต้นกำเนิดเดียวกัน (Supreme consciousness) พระเจ้าที่สร้างโลก ผู้ดูแลรักษาโลก ผู้ทำลายโลก ทั้งหมดคือพระเจ้าองค์เดียวกัน ไม่ได้ออกแยกจากกัน หลังจากนั้น ก็พูดประโยคสำคัญ “ตัวข้าคือความตาย ผู้ทำลายโลกใบนี้”
ออปเพนไฮเมอร์ที่ได้หยิบยกประโยคนี้ขึ้นมาพูดเนื่องจากตัวเขาเองไม่ได้เทียบว่าตัวเองเป็นพระเจ้า แต่ตัวเองคือนักวิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่สร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา ดังที่อรชุนต้องทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แม้ว่าจะต้องจบที่ความตาย
เช่นเดียวกับแบบทดสอบชื่อดัง ‘ปริศนารถราง’ (trolley problem) การเลือกระหว่าง ‘ฆ่า’ กับ ‘ปล่อยให้ตาย’ ซึ่งคิดขึ้นโดย Phillipa Foot ได้นำเสนอปัญหานี้ไว้ในปี พ.ศ. 2510 กับโจทย์ที่ว่า "มีรถรางขบวนหนึ่งกำลังวิ่งมาถึงทางแยก เรายืนอยู่ที่จุดสับราง และ สามารถสับรางได้ ถ้าเราไม่สับราง รถรางจะวิ่งไปชนคน 5 คน คน 5 คนจะตาย แต่ถ้าเราสับราง รถรางจะวิ่งไปชนคน 1 คน คน 1 คน นั้นก็จะตาย เราจะทำอย่างไร"
ไม่ว่าจะเลือกทางใดสังคมก็ตราหน้า ความรู้สึกผิดบาปติดอยู่กับเราจนวันตายอยู่ดี หากเราทำความคิดของประโยชน์นิยม (Utilitarianism) เราก็อาจจะบอกว่าชีวิตของคน 5 คนมีคุณค่ามากกว่าชีวิตของคนแค่ 1 คน เพราะฉะนั้นการสับรางก็เป็นทางเลือกที่ถูกแล้ว
Philippa Foot เสนอว่าหลักที่ให้คำตอบนี้คือ ‘การทำร้าย’ ใครสักคนนั้นผิดเสมอ ในขณะที่ ‘การปล่อยภัยร้ายให้ดำเนินไป’ โดยไม่เข้าไปช่วยเหลือนั้นไม่ผิดหรือ ผิดน้อยกว่า จะเข้าใจหลักที่ว่าได้ ต้องเริ่มจากการเข้าใจว่าทั้งสองอย่างต่างกัน ความแตกต่างระหว่าง ‘การทำร้าย’ กับ ‘การปล่อยให้ภัยร้ายดำเนินไป’อยู่ที่ เจตนา หรือสามัญสำนึก
ลองจินตนาการว่าตัวเราคือ ออปเพนไฮเมอร์และเหตุผลที่เขาตกลงรับเป็นผู้นำโครงการสร้างระเบิดปรมาณูนั้น ยังมาจากความเกลียดกลัวลัทธิฟาสซิสต์และพวกนาซีเยอรมัน ด้วยเกรงว่าฝ่ายอักษะกำลังนำหน้าทีมวิจัยของสหรัฐฯ อยู่มากจนอาจจะประดิษฐ์ระเบิดปรมาณูได้ก่อน ซึ่งอาวุธดังกล่าวสามารถทำให้ฮิตเลอร์เป็นฝ่ายชนะสงครามได้
แต่ผลลัพท์หลังระเบิดปรมาณูลูกนี้ได้ถูกใช้งาน ผลลัพธ์อันน่าสะเทือนขวัญจากระเบิดปรมาณู ทำให้เขาทนทุกข์และจมดิ่งสู่ความสำนึกเสียใจอย่างลึกซึ้ง เขาพยายามเตือนมนุษยชาติถึงอันตรายของอาวุธเหล่านี้ และความจำเป็นที่ต้องควบคุมมัน เขาตกเป็นจำเลยของรัฐบาลในข้อหาคอมมิวนิส์ จากจุดสูงสุดกลับตกต่ำอย่างรวดเร็ว
ไค เบิร์ด หนึ่งในผู้เขียนหนังสือชีวประวัติ “โพรมีธีอุสชาวอเมริกัน ชัยชนะและโศกนาฏกรรมของ เจ. โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์” กล่าวว่า "เขากำลังหนี หนีจากชื่อเสียงในฐานะบิดาแห่งระเบิดปรมาณู รวมถึงชื่อเสียงอื้อฉาวที่หลอกหลอนเขา หลังถูกสอบปากคำถึง 54 ครั้ง เพราะรัฐบาลระแวงถึงความไม่จงรักภักดี การเป็นคอมมิวนิสต์ และสายลับ”
เราคงเข้าใจความหมายของประโยคที่ว่า“Now I am become Death, the destroyer of worlds.” ที่ออปเพนไฮเมอร์ได้กล่าวและร้องไห้ขณะสัมภาษณ์นั่นอาจจะเป็นเพราะเขาเข้าใจความรู้สึกที่ต้องทำตามหน้าที่ แม้จุดจบจะไม่สวยก็ตาม