กลุ่มอาหารไทยเบฟฯ มุ่งเทคโนโลยี-หนีต้นทุนพุ่ง ใช้ดิจิทัล-เอไอ ทดแทนแรงงานคน

กลุ่มอาหารไทยเบฟฯ  มุ่งเทคโนโลยี-หนีต้นทุนพุ่ง ใช้ดิจิทัล-เอไอ ทดแทนแรงงานคน
อีก 5 ปีหน้า กลุ่มธุรกิจอาหารเครือไทยเบฟ จะมีสาขาร้านรวมกัน 1,200 แห่ง สะท้อนถึงจำนวนพนักงานบริการที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับต้นทุนธุรกิจรอบด้านตามมามหาศาล ถึงเวลาต้องวางโครงสร้างธุรกิจดิจิทัลเพื่อรับมือ

โสภณ ราชรักษา ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและสมรรถนะองค์กร ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหารประเทศไทย และผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจโลจิสติกส์ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยเบฟ (ThaiBev) กล่าวว่ากลุ่มไทยเบฟ วางแนวทางธุรกิจร้านอาหารตามแผนงาน PASSION 2030 ด้วย 2 กลยุทธ์หลัก คือ การกระจายสินค้าด้วยศักยภาพที่แข็งแกร่ง (Reach Competitively) และ ดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเติบโต (Digital for Growth)

จากแผนงานดังกล่าว ยังสอดรับกับการทำตลาดธุรกิจร้านอาหารในเครือทั้งหมดของกลุ่มไทยเบฟ ประกอบด้วย ธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน (QSR: Quick Service Restaurant) แบรนด์ เคเอฟซี (KFC) ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นกลุ่มโออิชิ (Oishi) ธุรกิจร้านอาหารฟายไดนิ่ง (Fine Dining) ทั้งในกลุ่มร้านอาหารไทย และร้านอาหารจีน ที่ครอบคลุมผู้บริโภคทุกเซ็กเมนต์  เพื่อนำมาใช้เป็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมความเสี่ยงธุรกิจจากปัจจัยต่างๆ อาทิ

  • ต้นทุนการบริหารจัดการที่ปรับสูงขึ้น
  • ค่าแรงขั้นต่ำอัตราใหม่ 400 บาทที่ทยอยปรับใช้ไปแล้วในปี 2567
  • ต้นทุนวัตถุดิบสินค้าต่างๆ ที่มีแนวโน้มปรับราคาขึ้น
  • ฯลฯ

“กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟฯ มีแผนนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ร่วมกับการบริหารจัดการธุรกิจมากขึ้น เพื่อให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ที่คุ้นชินกับการสั่งซื้อสินค้าด้วยตัวเองผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งร้านเคเอฟซีที่ไทยเบฟบริหารมีแผนตรียมติดตั้งตู้คิออสคต์สินค้าให้กดสั่งอาหารแบบอัตโนมัติ เพิ่มขึ้น หลังได้การตอบรับดีในสาขาร้านเอคเอฟซีที่ให้บริการตู้ฯดังกล่าวไปก่อนหน้าด้วยเป็นอีกหนึ่ง Pulse ช่วยกระตุ้นการซื้อในช่วงนั้นเป็นอย่างดี” โสภณ กล่าว

พร้อมเสริมว่า กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟ ยังมีแผนนำเทคโนโลยี หรือ เอไอ มาใช้สร้างการเติบโตควบคู่ไปพร้อมกัน ซึ่งจะเป็นผลบวกอย่างมากในด้านการบริหารจัดการสินค้าตลอดซัพพลายเชน ด้วยสามารถลดต้นทุนวัตถุดิบการผลิตอาหารในแต่ละร้านหรือสาขาได้อย่างเพียงพอ และลดการสูญสียของวัตถุดิบส่วนเกินที่ใช้การปรุงอาหารไปด้วยพร้อมกัน  

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลผ่านการใช้งานในรูปแบบ แดช บอร์ด (Dash Board) ให้พนักงานร้านในแต่ะสาขาสามารถแจ้งการลาหยุดในกรณีฉุกเฉินในแต่ละวันผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ พร้อมรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ร้านอาหารรับทราบในแต่ละสาขาของในแต่ละวันถึงจำนวนพนักงานที่ขาดและต้องการเพิ่มเท่าใด เพื่อให้สามารถบริหารจัดการคนได้อย่างทันท่วงที

โสภณ กล่าวว่า “การใช้เทคโนโลยีมาเก็บรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ ยังจะช่วยให้ธุรกิจพัฒนาทั้งสินค้า หรือ ดิจิทัล เมนู ที่ตรงกับความต้องการลูกค้า ให้กลุ่มธุรกิจร้านอาหารนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มทิคเก็ต ไซส์ หรือ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งได้เพิ่มขึ้น และรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้วิเคราะห์การหาทำเลพื้นที่เปิดร้านที่เหมาะสมกับผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการทำงานร่วมกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครืออย่าง เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย  ด้วย

โดยภายในปีค.ศ. 2030 กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟ คาดจะมีร้านทุกแบรนด์สาขารวมกันไม่ต่ำกว่า 1,200 ร้านค้าครอบคลุมทั่วประเทศ จากปัจจุบันมีทั้งหมด 900 แห่ง

ธุรกิจร้านอาหารยังท้าทาย

 

โสภณ กล่าวว่า สำหรับแผนธุรกิจอาหารกลุ่มไทยเบฟในปลายปีนี้ เตรียมใช้งบลงทุนราว 400 ล้านบาท เพื่อนำทุกธุรกิจร้านอาหารในเครือฯ เบื้องต้นจำนวน 16 ร้านเข้าไปเปิดให้บริการในโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ ‘วัน แบงค็อก’ (One Bangkok) ที่กำหนดเปิดปลายเดือน ตุลาคม 2567 นี้  

ขณะที่ ผลดำเนินงานกลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟใน 9 เดือนของปี 2567 อยู่ที่ 17,000 ล้านบาท คาดสื้นปีจะมีรายได้ในช่วงระหว่าง 19,000-20,000 ล้านบาท ซึ่งธุรกิจคิวเอสอาร์ยังมีแนวโน้มเติบโตดีอยู่ที่ 11% ของรายได้รวมธุรกิจฯ

พร้อมเสริมว่า ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารของไทยในช่วงปลายปีนี้แม้จะมีสัญญาณบวกภาคการท่องเที่ยวกลับมาในไตรมาสสี่ของปี แต่มองว่ายังมีความท้าทาย จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ

  1. กำลังซื้อผู้บริโภคท้องถิ่นในประเทศ จากสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวอยู่ แม้ว่าจะมีนโยบายแจกเงินหนึ่งหมื่นบาท ออกมาในเฟสแรก ซึ่งในธุรกิจเครื่องดื่มคาดจะได้รับอานิสงส์มากกว่าธุรกิจอาหาร และ ต้นทุนการดำเนินการธุรกิจ โดยเฉพาะอัตราค่าแรงปรับขึ้น 400 บาท  

“เรามีพนักงานในกลุ่มธุรกิจอาหารราว 1,400 คน ซึ่งนโยบายค่าแรงดังกล่าวส่งผลต้นทุนเงินเดือนเพิ่มขึ้นราว 8-9% ซึ่งเรามองตรงนี้เป็นบิ๊ก เควสชั่น” โสภณ กล่าว

  1. ความท้าทายเศรษฐกิจในปัจจุบัน จากกำลังซื้อกลุ่มธุรกิจร้านอาหารในภาพรวมที่ยังไม่ดีมากนัก ด้วยไม่สามารถคาดเดาสัญญาณได้ชัดเจนว่าจะไปในทิศทางใด  

ทั้งนี้ จากแนวโน้มดังกล่าวบริษัทฯ คาดว่าจะยังขยายต่อเนื่องไปถึงในปี 2568 เห็นได้จากสัญญาณธุรกิจร้านอาหารในภาพรวมแม้จะมีการเปิดตัวใหม่ แต่มีการชะลอตัวและปิดตัวลงเช่นกัน จากสภาวะเศรษฐกิจ ผลักดันให้ผู้บริโภคในบางกลุ่มเลือกปรุงอาหารทำเองที่บ้าน หรือเลือกมองหาร้านอาหารที่ตอบโจทย์ความคุ้มค่าคุ้มราคา (Value for Money) ได้มากที่สุด

ขณะที่กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟ เองยังต้องวางกลยุทธ์มารองรับเพื่อรับมือทั้งด้านต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นทั้ง การดำเนินงาน วัตุดิบการผลิตอาหาร และ ค่าแรง ซึ่งจะยังเป็นสิ่งท้าทายธุรกิจต่อเนื่องในปีหน้า

โดยในปี 2568 กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟเตรียมใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่ 1,300 ล้านบาท แบ่งออกเป็น  2 ส่วนใหญ่ คือ

  • เปิดร้านเพิ่ม  600 กว่าสาขา ทั้งแบรนด์เคเอฟซี และ แบรนด์โออิชิ
  • การทยอยปรับปรุงโฉมใหม่ (Renovate) สาขาร้านโออิชิ

“ในช่วงที่ผ่านมาแบรนด์โออิชิ ได้ฉลองอายุครบ 25 ปี ซึ่งเรามีแผนรีเฟรชแบรนด์ใหม่ในปีหน้า คาดใช้งบฯไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาทในการปรับโฉมสาขา และได้ทยอยปิดไปบ้างในบางสาขา โดยในปี2568 จะมีสาขาร้านอาหารทุกแบรนด์ทรวมกันอยู่ที่ 888 สาขา และติดอันดับท็อปทรีผู้ดำเนินการธุรกิจร้านอาหารรายใหญ่ของไทย ” โสภณ กล่าวพร้อมเสริมว่า

ในปี 2568 ยังวางเป้าหมายกลุ่มธุรกิจคิวเอสอาร์เติบโตเพิ่มขึ้น10% และแบรนด์โออิชิหลังปรับโฉมใหม่คาดเติบโตขึ้น 5% ธุรกิจร้านอาหารไทยและแบรนด์อื่นๆ วางเป้าการเติบโต 10%

TAGS: #ไทยเบฟเวอเรจ #ไทยเบฟ