เฟดเอ็กซ์ฯ มองเห็นโอกาสตลาดขนส่งสินค้าอันตรายในภาคเหนือ ‘เชียงใหม่-ลำพูน’ขยายโซลูชันโลจิสติกส์ครบวงจรธุรกิจท้องถิ่น ทั้งไป/รับจากต่างประเทศ
ออดรี เฉิง รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทในเครือเฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น (FedEx Corp.) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด่วนรายใหญ่ระดับโลก เปิดเผยว่า เฟดเอ็กซ์ฯ ได้ขยายโซลูชันโลจิสติกส์แบบครบวงจรสำหรับบริการขนส่งสินค้าอันตรายให้กับธุรกิจท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เพื่อให้ลูกค้าสามารถจัดส่งสินค้าอันตราย ได้สะดวกและปลอดภัย เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กาว สารฟอกขาว และสี ไปยังต่างประเทศหรือรับจากต่างประเทศผ่านบริการ FedEx International Priority
สำหรับสินค้าอันตราย หมายถึงสิ่งของหรือสารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือสิ่งแวดล้อม หากไม่ได้รับการจัดการอย่างระมัดระวัง ซึ่งเฟดเอ็กซ์ มีความเชี่ยวชาญในตลอดกระบวนการจัดส่งสินค้าอันตราย ทั้งรับการบรรจุ ทำเครื่องหมาย ติดฉลากอย่างปลอดภัย และจัดทำเอกสารอย่างเหมาะสม รวมถึงจัดส่งโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี เพื่อให้สินค้าจะถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย
“เราเห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการส่งออกสินค้าอันตรายจากภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งเป็นที่ตั้งของผู้ผลิตและห้องปฏิบัติการจำนวนมาก ซึ่งการขยายบริการด้านโลจิสติกส์ในครั้งนี้ ยังได้เตรียมเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ ให้กับธุรกิจในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอิเล็กทรอนิกส์ การบินและอวกาศ การแพทย์ และเคมี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับภาคธุรกิจเหล่านี้ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า เพื่อปลดล็อกศักยภาพสำหรับธุรกิจไทยให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสทางการค้าข้ามพรมแดนได้อย่างเต็มที่” เฉิง กล่าว
โดยบริษัท มุ่งสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจท้องถิ่น ด้วยนวัตกรรมด้านการบริการขนส่งที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจไทยทุกขนาดและทุกประเภท รวมถึงโซลูชัน Application Programming Interface ช่วยให้ผู้ค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์สามารถรวมบริการจัดส่งของเฟดเอ็กซ์เข้ากับหน้าร้านของตนได้
บริการ FedEx Ship Manager® Lite ที่มอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในการจัดส่งพัสดุโดยไม่ต้องพิมพ์เอกสารใด ๆ รวมถึงการเปิดตัวบริการ FedEx International Economy® อีกครั้ง โดยลูกค้าสามารถกำหนดวันเวลาขนส่งสำหรับการจัดส่งที่เร่งด่วนน้อย ช่วยเชื่อมต่อธุรกิจอย่างยืดหยุ่นมากขึ้นไปยังตลาดใน 170 ประเทศทั่วโลก